วันพฤหัสบดีที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เทคนิคการเลือกใช้ตำแหน่งสับจาน

การเปลี่ยนตำแหน่งสับจานหน้านั้น ไม่ใช่สิ่งที่กระทำได้สะดวก รวดเร็วเหมือนอย่างการ เปลี่ยนตำแหน่งเฟืองหลัง เพราะระยะห่างระหว่างใบจานหน้า รวมไปถึงความแตกต่างระหว่าง จำนวนฟันของใบจานหน้าแต่ละใบ ผิดกับชุดเฟืองหลังที่จะอยู่ชิดกันกว่ารวมไปถึงจำนวนฟัน ที่ต่อเนื่องกันมากกว่า การพิจารณาเลือกใช้และการตัดสินเปลี่ยนตำแหน่งจานหน้าในแต่ละสถานการณ์อาจจะ แตกต่างกันไปสำหรับหลายๆคน แต่ก็ยังคงมีเหตุผลหลักๆที่คนส่วนใหญ่ยอมรับมัน สำหรับทางเรียบ คุณจะใช้จานกลางหรือจานใหญ่ก็สุดแล้วแต่ระดับความเร็วที่คุณใช้และ แนวโซ่ที่จะเบี่ยงเบน เช่นถ้าคุณเกาะกลุ่มในทางเรียบที่ความเร็วประมาณ 29-31กม/ชม แช่เป็นทางยาว แทนที่คุณจะใช้ตำแหน่งเกียร์ 2-9 ซึ่งแนวโซ่จะเบี่ยงเบนไปมาก ก็ควร จะเลือกใช้ตำแหน่งเกียร์ 3-7 ซึ่งแนวโซ่จะเป็นเส้นตรง สำหรับทางลงเขา ควรใช้จานใหญ่ที่สุด ทั้งนี้ไม่ได้หมายถึง ระดับความเร็วที่คุณกำลังปั่น ส่งเพื่อลงเขาเท่านั้นหรือแม้จะเพียงปล่อยไหลลงเขาก็ตาม เพราะว่าถ้าหากมีการล้มเกิดขึ้น โซ่ที่มาอยู่ในตำแหน่งจาน3 จะป้องกันขาของคุณจากความคมของยอดฟันใบจาน ซึ่งคม พอที่บาดขาคุณลงไปถึงกล้ามเนื้อได้ สำหรับกรณีขึ้นเขา คุณอาจจะมีแรงมากพอที่จะใช้จานกลางปั่นขึ้นเขาได้โดยตลอด และ คิดว่าการเปลี่ยนมาใช้จานเล็กจะทำให้เสียเวลา ขอเพียงแค่คุณแรงถึง และแนวของโซ่ไม่ เบี่ยงไปมากนักก็คงจะไม่เป็นไรมากเท่าไหร่ แต่ถ้าเกิดคุณขึ้นเขาด้วยเกียร์ 2-1หละครับ ผมว่าคุณใช้เกียร์ 1-4 จะไม่ดีกว่าหรือ อัตราทดใกล้เคียงกันแถมแนวโซ่ยังไม่เบี่ยงด้วย
            โซ่ในระบบเกียร์ 27 speeds จะบางกว่าโซ่ของระบบเกียร์ 24 speeds หรือระบบ เดิมประมาณ0.6mm และต้องยอมรับว่าความแข็งแรงย่อมจะลดลงเป็นธรรมดา ซึ่งได้รับ การยืนยันจากผู้ใช้หลายๆคนว่าโซ่ของระบบใหม่ขาดง่ายกว่าระบบเดิม แต่ในความเป็น จริงแล้ว ไม่ว่าจะเป็นโซ่ใหม่หรือโซ่เดิม โอกาสโซ่ขาดอันเกิดจากการใช้งานที่ผิดวิธีย่อม เกิดขึ้นได้เสมอ โซ่ขาดในระหว่างขึ้นเขาเป็นเหตุการณ์ที่พบได้เรื่อยๆ ไม่ใช่ว่าข้อโซ่ทน แรงดึงไม่ไหว แต่ข้อโซ่ทนแรงบิดไม่ไหวต่างหาก คุณรู้หรือไม่ว่า โซ่จะบิดเกลียวและบิด ตัวด้านข้างอย่างมากในขณะที่มีการเปลี่ยนตำแหน่งจานหน้า ถ้าบวกด้วยการออกแรงดึง โซ่อย่างหนัก เช่น ลดจานหน้าลงมาในขณะที่ขายังกดบันไดอย่างหนักเพื่อที่จะเอาชนะ เนินสูงให้ได้ก็อาจจะทำให้ข้อโซ่บิดจนหลุดออกมาได้ ขณะที่การเปลี่ยนตำแหน่งเฟือง หลังนั้นจะทำได้ง่ายกว่า โซ่จะบิดตัวน้อยกว่า เนื่องจากระยะห่างระหว่างเฟืองแต่ละแผ่น มีน้อยกว่าระยะห่างระหว่างใบจาน
               วิธีที่ควรทำในระหว่างการขึ้นเขาก็คือ พิจารณาจากรอบขาและแรงที่เรายังมีอยู่ ถ้าเนินที่เห็นข้างหน้า หนักหนากว่าที่จะใช้จาน2ได้ตลอดเนิน ก็ให้เปลี่ยนเป็น จาน1 เมื่อยังมีแรงและรอบขาเหลืออยู่ โดยลดแรงกดที่บันไดลงก่อน อย่าเปลี่ยน จานหน้าในขณะที่กำลังจะหมดแรงส่ง เพราะนั่นหมายถึงว่าคุณกำลังออกแรงย่ำ บันไดอย่างหนักโดยที่บันไดแทบจะไม่ขยับเลย ซึ่งนั่นหมายถึงว่าแรงตึงภายใน โซ่จะสูงมากจนน่าเป็นห่วงที่จะทำให้ข้อโซ่อ้าได้ จากนั้นมาเล่นรอบโดยการเปลี่ยนตำแหน่งเฟืองหลังโดยใช้เฟืองที่เล็กลงก่อนเพื่อ ลดอาการ"หวือ"ของขาจากการที่ลดจานหน้าลง แล้วจึงเลือกเปลี่ยนตำแหน่งเฟือง หลังไปตามสถานะการณ์ แต่หลักการยังคงเหมือนเดิมคือ ให้เปลี่ยนเกียร์ในขณะ ที่ยังมีแรงหรือรอบขาเหลืออยู่ อย่าเปลี่ยนในขณะที่กำลังจะหมดแรงส่งด้วยเหตุผล ที่เหมือนกับการสับจาน ถึงแม้ว่าจะไม่มีผลให้โซ่ขาดต่อหน้าต่อตาแต่จะบั่นทอน อายุการใช้งานลงอย่างคาดไม่ถึง (อาจจะเจอโซ่ขาดเอาดื้อๆขณะที่กำลังปั่นทั้งๆที่ ไม่ได้เปลี่ยนเกียร์เลย ) และต้องลดแรงกดที่บันไดในเวลาเปลี่ยนเกียร์เช่นกัน


ข้อสรุป

      เลือกใช้เกียร์ให้เหมาะสมกับสภาพเส้นทางและสภาพตัวคุณเอง พยายามหลีกเลี่ยงการใช้ เกียร์ที่หนักแรงโดยไม่จำเป็น เก็บข้อเข่าคุณไว้ใช้ตอนอายุมากๆดีกว่า เลือกอัตราทดที่โซ่ไม่เบี่ยงเบนมาก เพื่อยืดอายุการใช้งานของโซ่ และลดการสึกหรอของ จานหน้าและเฟืองหลัง เกียร์ 1-9 และ 3-1 ไม่ใช่เกียร์สำหรับใช้งาน แต่เกียร์1-9 มีไว้สำหรับเก็บรถเพื่อพักสปริง สับจานและตีนผี และระวังอย่าเผลอใช้เกียร์ 3-1 การเปลี่ยนเกียร์ ไม่ว่าจะเปลี่ยนตำแหน่งจานหน้าหรือเฟืองหลัง ให้ลดแรงกดที่บันได ในขณะลงเขา เปลี่ยนจานหน้ามาไว้ที่จาน3 เสมอ โซ่จะคลุมยอดฟันคมๆของจาน3 ไม่ ให้มาเกี่ยวขาเราในเวลาที่ล้ม ในขณะขึ้นเขา ควรจะเปลี่ยนมาใช้จาน1ในช่วงที่ยังมีรอบขาเหลืออยู่ ทางที่ดีแล้วควรจะ เปลี่ยนมาใช้จาน1เสียแต่เนิ่น แล้วมาไล่เฟืองหลัง การเปลี่ยนตำแหน่งเฟืองหลังในขณะ ขึ้นเขา ทำได้ง่ายกว่าการเปลี่ยนตำแหน่งจานหน้า

วันที่ 29 มิถุนายน 2555

จุดที่เปราะบางที่สุดของระบบเกียร์

           โซ่เป็นตัวถ่ายทอดแรงจากบันไดไปยังล้อหลัง โดยรับจากจานหน้าส่งต่อไปยังเฟืองหลัง จุดอ่อนของโซ่ก็คือ ข้อโซ่ ข้อโซ่อาจจะได้รับการออกแบบมาอย่างดีสำหรับการรับแรงกระทำใน แนวยาวซึ่งจะมาในรูปของการดึง แต่ไม่ได้ถูกออกแบบมาดีนักสำหรับการรับแรงบิด ทั้งการบิด เกลียวและการบิดด้านข้าง เมื่อโซ่ได้รับแรงบิด ข้อโซ่จะเป็นบริเวณที่ต้องเผชิญกับความเครียด และแรงเค้น เมื่อโลหะที่เป็นแผ่นประกับ(outer plate)ตรงบริเวณข้อโซ่ได้สะสมความเครียด และแรงเค้นจนถึงจุดที่เกิดอาการล้าตัวแล้ว แกนข้อโซ่ก็จะถูกบิดให้หลุดออกมา ก็จะเกิดอาการ ที่เรียกว่า "โซ่ขาด" การบิดของโซ่จะเกิดเกือบตลอดเวลาของการใช้งาน โดยการบิดตัวด้านข้างจะเกิดขึ้นใน ขณะที่ใช้อัตราทดที่มีแนวโซ่เบี่ยงเบน ยิ่งเบี่ยงเบนมากก็จะบิดตัวมาก (การบิดด้านข้างของโซ่ จะทำให้มีแรงต่อฟันของจานหน้าและเฟืองหลังที่เกี่ยวข้องด้วย) ส่วนการบิดเกลียวจะเกิดขึ้นใน ขณะที่มีการเปลี่ยนตำแหน่งจานหน้า แรงบิดเกลียวที่กระทำต่อโซ่ในขณะเปลี่ยนตำแหน่งจาน หน้านี้จะเพิ่มขึ้นตามแรงที่เรากดบันได การใช้ตำแหน่งเกียร์ที่เหมาะสม โดยพิจารณาจากแนวโซ่ การเลือกใช้ตำแหน่งเกียร์ที่เหมาะสมโดย พิจารณาจากแนวโซ่เป็นเหตุผลหลักนั้น จะช่วย ยืดอายุการใช้งานในระยะยาวของระบบเกียร์ไม่ ว่าจะเป็น โซ่ หรือชุดจานหน้าหรือเฟืองหลัง ถ้าพิจารณาจากรูปจะเห็นได้ว่าที่ตำแหน่ง เกียร์ 1-3 , 2-5 และ 3-7 แนวโซ่แทบจะเป็นเส้น ตรงเลยทีเดียว


กลุ่ม1และกลุ่ม2 จะเป็นกลุ่มที่ใช้ได้ดีมากเนื่องจากแนวโซ่ไม่ได้เบี่ยงเบนไปมาก และ ยังสามารถไล่อัตราทดต่อเนื่องกันได้อย่างเพียงพอสำหรับการใช้งาน เช่นเมื่อเราใช้เกียร์ 2-7 ทำความเร็วได้พอสมควรแล้ว และต้องการจะทำความเร็วเพิ่มขึ้นอีก เราอาจจะเลือก เปลี่ยนเกียร์เป็น 3-6 ซึ่งจะให้อัตราทดที่เพิ่มขึ้นและต่อเนื่องคล้ายกับอัตราทดในเกียร์ 2-8 แต่แนวโซ่ไม่เบี่ยงเบนไปมาก หรือ คุณกำลังจะปั่นขึ้นเนินด้วยตำแหน่งเกียร์ 2-3 และเห็นว่าเนินนี้ยังอีกยาวทั้งมีแนวโน้มว่าคุณจะต้องใช้เกียร์ที่ต่ำกว่านี้อีกในการจะเอา ชนะ แทนที่คุณจะเปลี่ยนเป็นเกียร์ที่ต่ำกว่านี้ด้วยการใช้เกียร์ 2-2 ผมแนะนำให้คุณ เปลี่ยนไปเล่นเกียร์ 1-5 แทนจะดีกว่า นอกจากเรื่องอัตราทดและแนวโซ่แล้วยังจะมีสิ่งที่ หลายคนนึกไม่ถึง ซึ่งจะอธิบายในเรื่องของการใช้เกียร์เพื่อขึ้นเขาต่อไป กลุ่ม3 ก็ยังสามารถใช้ได้อยู่ แต่ก็ไม่เลวนักถ้าจะเปลี่ยนไปใช้เกียร์ในกลุ่ม2 กลุ่ม4 แนวโซ่จะเบี่ยงเบนไปพอสมควร ซึ่งจะบั่นทอนอายุการใช้งานในระยะยาว กลุ่ม5 ไม่จำเป็นหรือไม่เผลอก็อย่าไปใช้เลย สึกหรอโดยใช่เหตุ กลุ่ม6 คือ เกียร์ 3-1 และ1-9 เป็นเกียร์ต้องห้าม อย่าได้เผลอไปใช้ทีเดียวนะครับ ทำไมเกียร์ 3-1 และ 1-9 เป็น"เกียร์ต้องห้าม" ตำแหน่งเกียร์ 3-1 หรือหน้าใหญ่สุด หลังใหญ่สุด นอกจากแนวโซ่จะเบี่ยงเบนไป อย่างมากแล้ว ตัวตีนผีเองจะถูกโซ่ดึงจนกาง ออกเกือบจะเป็นเส้นตรง ซึ่งถ้าความยาวของ โซ่สั้นเกินไปกว่าที่ควร ขาตีนผีอาจจะถูกบิด จนโก่งงอ เคยพบว่าในบางรายฟันของเฟือง1 คดงอจากแรงดึงของโซ่ได้ เกียร์ 1-9 ถึงแม้จะไม่ถูกนำใช้งานเนื่องจากแนวโซ่ที่เบี่ยงเบนไปอย่างมากนั้น แต่ก็ใช่ว่า จะไม่มีประโยชน์เสียทีเดียวเพราะว่าจะถูกใช้เป็นเกียร์สำหรับจอดเก็บ เพราะว่าในตำแหน่งจาน หน้าเล็กสุด สปริงของตัวสับจานหน้าจะหย่อนที่สุด เช่นกันกับตำแหน่งเฟืองหลังที่เล็กสุด สปริง ในตัวตีนผีจะหย่อนที่สุดเช่นกัน การเก็บเกียร์ในลักษณะนี้จะช่วยยืดอายุการใช้งานของสปริง ในตัวสับจานหน้าและตีนผี


วันที่ 29 มิถุนายน 2555

เกียร์จักรยาน

ส่วนประกอบเกียร์
                ปัญหานี้คงเป็นปัญหายอดฮิตสำหรับมือใหม่ทุกๆคนเนื่องมาจากระบบเกียร์ที่ค่อนข้างจะด้วยชุดจานหน้า(chain ring)สับจานหน้า(front derailleur) ชุดเฟืองหลัง(cog) ตีนผี(rear derailleur) โซ่(chain)
และยังรวมไปถึงชุดเปลี่ยนเกียร์(shifter)เกียร์จักรยานนั้นถูกออกแบบมาด้วยเหตุผลคล้ายกับเกียร์รถยนต์ คือเพื่อให้ผู้ถีบสามารถใช้รอบขาและแรงถีบได้อย่างเหมาะสมกับสภาพเส้นทาง ความเร็ว และสภาพของตัวผู้ถีบเอง โดยจะเลือกอัตราทดจากการเปลี่ยนตำแหน่งโซ่ในชุดจานหน้าซึ่งจะมีตั้งแต่ 2 - 3 จาน ร่วมกับการเปลี่ยนตำแหน่งโซ่ในชุดเฟืองหลังซึ่งมีตั้งแต่ 7 - 9 เฟือง ( CampagnoloและRitchey ได้ทำชุดเฟืองหลัง10 เฟืองออกมาแล้ว แต่อาจจะยังไม่เป็นที่แพร่หลายเนื่องจากใช้เพื่อการแข่งขัน )ในที่นี้ผมจะขอกล่าวเฉพาะชุดจานหน้า 3 จานและเฟืองหลัง 9 เฟืองของเสือภูเขาเท่านั้นทางShimanoได้ผลิตชุดขับเคลื่อนระบบนี้ตั้งแต่ชุดระดับกลางๆคือ Deore จนถึงชุดระดับสูงอย่าง XTR โดยอาจจะเรียกให้เข้าใจกันง่ายๆว่า ชุดขับเคลื่อน 27 speeds ซึ่งความหมายมาจาก 3 x 9 = 27 นั่นเอง ซึ่งการเรียกตำแหน่งเกียร์นั้นจะเรียกเป็นตัวเลขคล้ายกับเกียร์รถยนต์โดยจานหน้าใบเล็กสุด จะเรียกว่าจาน1 จานกลางจะเรียกว่าจาน2 จานใหญ่สุดจะเรียกว่าจาน3คล้ายๆกับเกียร์รถยนต์ ตัวเลขที่มากขึ้นก็จะหมายถึงความเร็วที่เพิ่มขึ้นมา (และออกแรงเพิ่มขึ้น)ในขณะที่ชุดเฟืองหลังนั้นจะเรียกเฟืองใหญ่สุดว่าเฟือง1 แล้วเรียกไล่กันไปจนถึงเฟืองเล็กที่สุดว่าเฟือง9 หลายคนอาจจะเริ่มสับสน คือถ้าเฟืองหลังยิ่งเล็กลงความเร็วก็จะเพิ่มขึ้น ซึ่งจะสลับกันกับชุดจานหน้า ตัวอย่างในการเรียกให้เข้าใจตรงกัน เช่น ตำแหน่งเกียร์ 3-7จะหมายถึงจานหน้าอยู่ในตำแหน่งจาน3 และเฟืองหลังอยู่ในตำแหน่งเฟือง7 (คือเฟืองตัวที่ 3 นับขึ้นมาจากเฟืองที่
เล็กที่สุด)ผมจะใช้ตัวอย่างจากชุดขับเคลื่อนยอดฮิตที่มีชุดใบจานหน้า 44-32-22 ( ใบใหญ่44ฟัน ใบกลาง32ฟัน และใบเล็ก22ฟัน )กับชุดเฟืองหลังมีจำนวนฟันเรียงกันดังนี้ 11-12-14-16-18 -21-24-28-32 อัตราทดจะคำนวณโดยการนำจำนวนฟันของจานหน้าหารด้วยจำนวนฟันของเฟืองหลัง เช่น เกียร์ 3-9 จะมีอัตราทดเท่ากับ 44หารด้วย11 เท่ากับ 4.0 ซึ่งหมายถึงว่าถ้าเราปั่นบันไดครบ1รอบ ล้อหลังจะหมุนไปได้ 4 รอบ ดูตารางกันก็แล้วกันนะครับ


แล้วจะเลือกใช้เกียร์อย่างไรดีหละ หลักการใช้เกียร์ที่เหมาะสมนั้นไม่มีอะไรมากไปกว่าการใช้ความหนักเบาให้พอดีกับแรง และสุขภาพของคุณเอง การใช้เกียร์ที่หนักอัตราทดสูงๆ เช่น 3-9 อาจจะเหมาะสมสำหรับความ เร็วสูงสุดช่วงสั้นๆในทางเรียบหรือความเร็วในการลงเขา แต่ไม่เหมาะสำหรับการเดินทางไกลๆ เพราะจะหนักเกินไป และผลสุดท้ายจะลงเอยกับเข่าของคุณเอง สู้ใช้เกียร์ที่เบากว่าแต่ใช้รอบขา สูงกว่าไม่ได้ และเกียร์ที่เบาเกินไปก็ไม่มีประโยชน์ต่อการออกกำลังกาย น้ำหนักเกียร์ที่เหมาะสม จึงเป็นเรื่องที่คุณจะต้องเลือกใช้ตามความจำเป็น เช่นเดียวกันกับรถยนต์ที่ไม่มีใครใส่เกียร์5 ขึ้น ดอยอินทนนท์ ไม่ว่าเครื่องยนต์จะทรงพลังแค่ไหนก้อตาม และถึงแม้ว่าจะขึ้นได้ผลเสียก้อคงตก กับเครื่องยนต์และระบบขับเคลื่อนเอง อันนี้จึงเป็นเรื่องของทางสายกลางที่คุณจะต้องหาเองเพราะ ว่าแต่ละบุคคลมีความแตกต่างกันไป แล้วจะเลือกใช้เกียร์ไหนดีเอ่ย มีตั้ง 27 เกียร์แหนะ เรามาลองย้อนขึ้นไปดูที่ตารางอัตรา ทดอีกทีนะครับ คุณจะพบว่ามันไม่ได้มีอัตราทดหลากหลายกันถึง 27 speedsอย่างที่คิด บาง อัตราทดก็จะเท่ากันหรือใกล้เคียงกัน รวมไปถึงข้อจำกัดในเรื่องของแนวโซ่ จนเราไม่อาจจะใช้ มันจริงๆจังๆได้ครบทั้งหมด และจากการใช้งานจริงๆเราจะใช้มันอย่างมากก็เพียง 15-16 อัตรา ทดเท่านั้น


 ขอบคุณรูปภาพประกอบจาก http://www.probike.co.th 
วันที่ 28 มิถุนายน 2555

โซ่โคตรทรหดจากเยอรมันนี

Connex Wippermann
                โซ่โคตรทรหดจากเยอรมันนี ผลิตจากโรงงานที่เมือง Hagen ด้วยเหล็กกล้าของเยอรมัน Connex Wippermann ได้ชื่อว่าเป็นโซ่ที่ทนทานเป็นที่สุด ได้รับการยอมรับกันทั้งในวงการอุตสาหกรรมรวมไปถึงวงการยานยนต์และจักรยานอีกด้วย  Wippermann เป็นผู้ผลิตโซ่คุณภาพสูงของเยอรมันมากว่า 100 ปีแล้ว ได้รับการรับรองมาตรฐาน DIN EN ISO 9001 มากว่า 15 ปี เป็นเครื่องการันตีได้ว่าโซ่ทุกเส้นของ Connex - Wippermann ได้ผ่านการผลิตมาอย่างพิถีพิถันและใช้เทคโนโลยี่การผลิตที่ได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องยาวนาน จึงส่งให้ ได้รับการยกย่องให้เป็นโซ่อันดับ 1 ของโลกที่ทั้งทนทานและน้ำหนักเบา
ราคาของ Connex - Wippermann
โซ่ รุ่น 10S8 - 10 สปีด 11/128 Nicket Plated ราคาตั้ง 1,100.-
โซ่ รุ่น 10SG - 10 สปีด 11/128" Gold ราคาตั้ง 1,150.-
โซ่ รุ่น 10SX - 10 สปีด 11/128" Stainless steel ราคาตั้ง 1,660.
โซ่ รุ่น 10S1 - 10 สปีด 11/128" Hollow pin + Stainless ราคาตั้ง 2,300.-
โซ่ รุ่น 908 - 9 สปีด 11/128" นิกเกิ้ล Nicket Plated ราคาตั้ง 970.-
โซ่ รุ่น 808 - 8 สปีด Nicket Plated ราคาตั้ง 615.-


โซ่ม้วนความยาว 25 เมตร (1 ม้วน เท่ากับ 18 เส้น)
โซ่ รุ่น 908 9 สปีด Nicket Plated ราคาตั้งม้วนละ 15,000.-
ข้อต่อโซ่ รุ่น CONNEX LINK 8 สปีด สีเงิน ราคาตั้ง 95.-
ข้อต่อโซ่ รุ่น CONNEX LINK 9 สปีด สีเงิน ราคาตั้ง 95.-
ข้อต่อโซ่ รุ่น CONNEX LINK 9 สปีด สีทอง ราคาตั้ง 95.-
ข้อต่อโซ่ รุ่น CONNEX LINK 10 สปีด สีเงิน ราคาตั้ง 230.-
ข้อต่อโซ่ รุ่น CONNEX LINK 10 สปีด สีทอง ราคาตั้ง 230.-
สเปรย์ฉีดโซ่ ราคาตั้ง 150
ตัววัดความตึงโซ่ อลูมิเนียม ราคาตั้ง 460.-
ตัวตัดโซ่ CONNEX LINK ราคาตั้ง 740.-


ขอบคุณภาพประกอบจาก http://www.bicycledoctorusa.com/
วันที่ 28 มิถุนายน 2555

วันพุธที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ปั่นจักรยานอย่างมืออาชีพ


เราคงเคยได้ยินโค้ชจักรยานพูดเสมอว่า ถ้าอยากปั่นแบบโปร ต้องปั่นให้รอบขาสูงๆเข้าไว้ หรือ90รอบขึ้นไป การจะขี่จักรยานให้ดีนั้นสิ่งแรกที่ต้องทำและเน้นให้ถูกต้องก่อนที่จะไปฝึก อย่างอื่นคือ เทคนิคการปั่น(การปั่นให้เป็นวงกลม ราบเรียบ และรอบขาสูงพอ) บางคนอาจจะคิดว่าไม่เห็นยากตรงไหนก็แค่วางเท้าบนบันได ยกขาขึ้นลงๆ ก็ปั่นได้แล้วถ้าคิดอย่างนี้เด็กๆหรือใครที่ไหนก็ปั่นได้ จะปั่นจักรยานให้ดีขึ้นต้องมีความเข้าใจเรื่องของเทคนิคและฝึกเพิ่มเติมใน บางจุดที่ต้องเน้นและให้ความสนใจเป็นพิเศษ มีโค้ชทีมชาติสหรัฐคนหนึ่งกล่าวไว้ว่ากรรมพันธุ์เป็นส่วนหนึ่งที่จะกำหนดว่า ใครจะปั่นได้เร็วแค่ไหนแต่ถ้านักปั่นคนนั้นมีเทคนิคดีด้วยจะทำให้เขาเป็นนัก จักรยานที่สมบรูณ์แบบที่สุด ถ้านักปั่นคนไหนสามารถนั่งปั่นบนอานจักรยานที่รอบขาสูงๆได้สบายๆแล้วไม่ว่า จะแข่งสนามไหนก็ไม่ต้องกลัวว่าจะขี่ไม่จบ เทคนิคการปั่นที่ดีจะทำให้สามารถใช้เกียร์เบาๆรอบขาสูงได้นานต่อเนื่องและ ยังเหลือกำลังขาที่เหลือไว้เมื่อคราวจำเป็นด้วย เช่นเมื่อต้องหนีจากกลุ่มหรือต้องชิงกันตอนหน้าเส้น


การนับรอบ ขา
รอบขาคือการวัดความเร่งของขาในการปั่น จักรยาน นักปั่นทั่วไปมักจะชอบที่จะปั่นที่เกียร์ค่อนข้างหนัก รอบขา 40-50รอบต่อนาที เพราะจะให้ความรู้สึกที่สบายและเป็นธรรมชาติที่สุด แต่สำหรับการปั่นเพื่อพัฒนาหรือการแข่งขัน ความเร็วรอบขาต้องมากกว่านี้สองเท่าคือประมาณ80-110รอบต่อนาที โดยใช้เกียรที่หนักปานกลาง เราเรียกช่วงรอบขานี้ว่า spinning การนับรอบขาง่ายๆคือนับจำนวนครั้งของเท้าข้างใด้ข้างหนึ่งที่ปั่นขึ้นมาครบ รอบใน30วินาทีแล้วคูณด้วย2 แต่ถ้าจะให้ดีและสำหรับมืออาชีพทุกคนต้องมีใช้คือไมล์ที่มีที่วัดรอบขาเพราะ สะดวกรวดเร็วและสามารถเช็คได้ตลอดเวลา

ทำไมต้องปั่นที่รอบขา สูงๆมีเหตผลอธิบาย4ข้อคือ
1 การปั่นที่ความเร็วสูงนานๆและต้องใช้พลังงานมาก เมื่อเทียบกันระหว่างเกียร์เบารอบขาสูง กับ เกียร์หนักรอบขาช้า ที่รอบขาสูงๆนั้นกล้ามเนื้อจะสดกว่าไม่ล้าง่าย สังเกตุง่ายๆเช่นเมื่อเราทำการฝึกแบบinterval การใช้รอบขาสูงๆจะทำซ้ำและบ่อยครั้งกว่า ชีพจรก็ขึ้นเร็วกว่า นั่นหมายถึงว่าเราสามารถออกกำลังให้หัวใจและปอดได้ดีกว่าและเมื่อฝึกไป เรื่อยๆจะพบว่าอัตราชีพจรจะช้าลงเรื่อยๆที่การปั่นความเร็วเท่าเดิม นั่นคือหัวใจแข็งแรงขึ้นสามารถฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้มากขึ้นในแต่ละ ครั้ง

2 สิ่งที่จำเป็นอย่างหนึ่งในการแข่งขันคือ การเร่งความเร็ว ลองนึกดูว่าถ้าใช้เกียร์หนักรอบขาต่ำๆเมื่อต้องการเร่งความเร็วให้มากขึ้น ทันทีทันไดต้องใช้ความพยายามและกำลังมากแค่ไหนที่จะกดลงบันไดเมื่อเทียบกับ เกียร์เบาๆซึ่งจะทำได้ง่ายกว่า เทียบง่ายๆกับอัตราเร่งแซงในรถยนต์ก็ได้ เกียร์ 4กับเกียร์5อันไหนอัตราเร่งดีกว่ากัน

3 ที่รอบขาสูงเราจะใช้ความพยายามในการปั่นน้อยกว่า สังเกตง่ายๆยิ่งรอบขาสูงขึ้นเท่าใดเราจะรู้สึกว่ามันปั่นเบาขึ้นเรื่อยๆซึ่ง ทำให้สามารถปั่นได้นานโดยไม่ล้า ตราบใดที่หัวใจและปอดยังสามารถปั้มและฟอกเลือดเพื่อนำออกซิเจนไปเลี้ยงกล้าม เนื้อได้พอ

4 เกียรเบาทำให้มีโอกาสเกิดการบาดเจ็บต่อกล้ามเนื้อและเข่าน้อยกว่าเกียรหนัก แน่นอน
จะหารอบขาที่เหมาะสมสำหรับเราได้อย่างไร

รอบขาที่เหมาะสมนั้นขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ว่าเราต้องการขี่เพื่ออะไร แบบไหน ถ้าจะปั่นเพื่อการสัญญจรไปมา อย่างในประเทศจีนจากการศึกษาพบว่ารอบขาที่เหมาะสมและสบายที่สุดคือ40-50รอบ โดยจะได้ความเร็วเดินทางเฉลี่ย16กมต่อชม แต่สำหรับการแข่งขันนั้นอย่างน้อยต้อง90รอบต่อนาทีขึ้นไปจะมากหรือน้อยกว่า นี้บ้าง เช่นมีบางคนชอบที่จะปั่นรอบขาสูงกว่า100รอบเพราะเวลาจะเพิ่มความเร็วจะทำได้ ไวกว่า ,นักปั่นtime trialบางคนปั่นที่ความเร็วรอบขาในช่วง80-85รอบโดยใช้เกียร์ที่หนักกว่าปกติ เล็กน้อย แต่ทั่วไปแล้วสำหรับการปั่นเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด เช่นการปั่น100กม แนะนำให้ใช้รอบขาที่90รอบเพราะพบว่าถ้าปั่นที่ความเร็วรอบมากเกิน100รอบขึ้น ไปประสิทธิภาพจะลดลง คืองานที่ทำเทียบกับความเร็วที่ได้จะน้อยลง เช่นรถยนต์ที่เกียร์3 กับเกียร์4 รอบเกียร์3สูงกว่าแต่ได้ความเร็วที่ช้ากว่าและเครื่องยนต์ทำงานหนักกว่า ยกเว้นว่าต้องการเร่งความเร็วอย่างมากในเวลาสั้นๆเช่นตอนเข้าเส้นอาจจใช้รอบ ขาที่มากกว่า120รอบในไม่กี่วินาที

การหารอบขาที่เหมาะสมที่สุด
อุปกรณ์ที่ต้องใช้ เครื่องวัดชีพจร, ไมล์วัดรอบขา,ไมล์วัดความเร็ว วิธีหารอบขาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับตัวเราโดย ปั่นที่ความเร็วระดับTime trial(คือความเร็วทีมากที่สุดที่เราจะสามารถทำต่อเนื่องและคงที่ได้ตลอดการ ทดสอบ) หรือบางคนเรียกว่าชีพจรช่วงLactate threshold ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามความฟิตและการฝึกซ้อมของแต่ละคน โปรบางคนอาจแตะแถว90%ของชีพจรสูงสุด มือใหม่บางคนอาจจะแค่60% การหาค่าความเร็วนี้ทำได้โดยลองปั่นหลายๆครั้ง แล้วสังเกตุว่าที่ความเร็วเท่าไหร่ที่เราสามารถปั่นได้เร็วที่สุดโดยปั่นได้ นานและต่อเนื่องระดับหนึ่งเช่นปั่นระยะทาง10กมความเร็วที่สามารถขี่ได้คงที่ ตลอดคือ30กมต่อ ชมถ้าขี่เร็วกว่านี้หมดแรงก่อน ในการทดสอบจะให้ปั่นที่ความเร็วช่วงนี้ช่วงละ10นาที ระหว่างช่วงให้พักให้หายเหนื่อยเสียก่อนที่ทดสอบช่วงต่อไป ปรับเกียร์จักรยานเพื่อเปลี่ยนรอบขา แล้วสังเกตุว่า รอบขาไหนที่ทำให้ให้อัตราชีพจรต่ำที่สุด นั่นคือรอบขาที่เหมาะสมสำหรับเรา และเมื่อใช้รอบขานี้ฝึกซ้อมไปเรื่อยๆจะพบว่าเราจะพัฒนา ขึ้น ชีพจรจะช้าลงเรื่อยๆ ที่ความเร็วเท่าเดิมและรอบขาดังกล่าว ว่ากันว่า นักจักรยาน 2 คนที่ทดสอบความฟิต แล้วเท่ากัน แต่เอามาขี่จักรยานแข่งกัน คนหนึ่งอาจจะสู้อีกคนหนึ่งไมได้ เพราะที่ความเร็วเท่ากัน คนหนึ่งอาจจะใช้แรงมากว่าอีกคน โคชจะบอกว่า ขี่เป็น กับขี่ไม่เป็น อะไรล่ะ


กุญแจสำคัญที่จะทำให้การปั่น ดีขึ้น
มีหลายปัจจัยที่จะทำให้การปั่นมี ประสิทธิภาพมากขึ้น ง่ายขึ้น และเมื่อทุกอย่างสมบูรณ์ เราจะปั่นได้เป็นวงกลมราบเรียบไม่กระตุกเหมือนลูกโยโย่(บางทีเรียกถีบ จักรยาน) ปัจจัยมีดังต่อไปนี้
1 การตั้งความสูงของอาน
อานที่สูงไปหรือต่ำไปก็มีผลทำให้การปั่นไม่ดี การหาค่าความสูงของอานที่เหมาะสมคือ วัดความยาวของขาก่อน ใส่ถุงเท้า ยืนชิดผนัง ขาสองขางแยกห่างกัน6นิ้วฟุต วัดจากพื้นถึงง่ามขา ได้เท่าไหร่คูณด้วย.883ค่าที่ได้คือค่าความสูงของอานวัดจากแกนกระโหลกจนถึง ขอบบนของอาน โดยวัดเป็นแนวเส้นตรงตามแนวอานถึงกระโหลก พบว่าถ้าตั้งอานสูงกว่าปกติจะมีแนวโน้มที่จะใช้รอบขาที่สูงเกินไป คนเขียนใช้สูตรนี้ แต่ก็ยังมีอีกหลายสูตรที่ป๋าลูได้อธิบายไว้ในบทความก่อนหน้านี้ ยังไงก็ค่อยๆปรับนะครับ พวกมืออาชีพนี่เค้าปรับกันทีละเป็นมิลลิเมตร วันหนึ่ง1-2มิล ผมนี่ใหม่ๆว่ากันเป็นเซนต์

2 จังหวะปั่งลงให้มีความรู้สึกเหมือนปาดโคลนออกออกจากปลายรองเท้า
Greg Lemond แชมป์TDFสามสมัยได้แนะนำเทคนิคนี้ การจินตนาการความรู้สึกนี้จะช่วยลดจุดบอดจุดตอนปั่นจะหวะที่เท้าใกล้จะลง ล่างสุด จะช่วยให้มีการกดน้ำหนังลงช่วงนี้สม่ำเสมอราบเรียบขึ้นและทำให้มีการดึง บันไดขึ้นซึ่งเป็นช่วงต่อจากนี้ได้ต่อเนื่องและราบเรียบขึ้น

3 แทงเข่า
ที่รอบขาสูงๆจะดึงบันไดขึ้นได้ยากกว่าปั่นช้าๆ มีเทคนิคจากNED Overend กล่าว่าถ้าสามารถดึงบันไดขึ้นจะช่วยลดแรงของขาด้านตรงข้ามได้มากเทคนิคนี้ เหมาะสำหรับพวกเสือภูเขาเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากรอบขาจะต่ำกว่าพวกเสือหมอบ การใช้กล้ามเนื้ออีกกลุ่มมาช่วยดึงลูกบันไดนั่นหมายถึงแรงบิดสูงที่ขึ้นแรง ตะกุยมากขึ้น การฝึกให้นึกถึงการแทงเข่าไปที่แฮนด์จังหวะที่เท้าผ่านจุดต่ำสุดขึ้นมาแล้ว ซึ่งจุดนี้ก็เป็นจุดบอดจุดหนึ่งในการปั่นให้ราบเรียบและเป็นวงกลม เป็นการฝึกกล้ามเนื้อน่อง และต้นขาด้านหน้า ซึ่งเป็นกล้ามเนื่อที่นักจักรยานไม่ได้ใช้ตามปกติ

4 การฝึกปั่นกับลูกลิ้ง
การฝึกปั่นกับลูกลิ้งสามลูกจะช่วยในการทรงตัวและสมดุล ถ้าปั่นที่รอบขาสูงๆแล้วแกว่งแสดงว่ารอบขายังไม่ได้ ให้ใช้เทปแปะห่างกัน6นิ้ว ซ้อมให้ล้อหน้าอยู่ระหว่างเทปสองเส้นนี้ เมื่อฝึกไปเรื่อยๆ รอบขาดีขึ้น เราจะนื่งมากขึ้น ก็ชิดเทปทั้งสองให้เข้าใกล้มากขึ้นเรื่อยๆ

5 ฝึกขี่จักรยานที่ไม่มีfreeขา
การฝึกขี่จักรยานที่ไม่มีfreeขาจะทำให้เราได้ฝึกขี่ที่รอบขาต่างๆกัน จังหวะที่เป็นจุดบอดในการปั่น แรงดึงหรือดันที่ส่งผ่านลูกบันไดมาดันหรือดึงเท้าจะบอกให้เรารู้ว่าจุดบอด ของเราอยู่จังหวะไหนเช่น จังหวะที่เท้าข้างขวาผ่านจุดต่ำสุดเราได้ความรู้สึกว่ามีแรงมาดันลูกบันได ที่เท้าขวาซึ่งแรงดันนี้มาจากแรงกดบันไดข้างซ้าย แสดงว่าช่วงจังหวะนี้ควรจะเป็นจังหวะที่เท้าขวาต้องออกแรงดึงลูกบันไดแล้ว ควรฝึกกับลูกกลิ้งที่บ้าน หรือถ้าจะขี่บนถนนรถต้องมีเบรคด้วย

6 ฝึกปั่นขึ้น ลงเขา จังหวะที่ขี่ลงเขาไม่ต้องเพิ่มเกียร์ให้หนักขึ้นเพื่อที่จะได้ฝึกปั่นที่รอบ ขาสูงๆ110-120รอบหรือมากกว่า พยายามนั่งปั่นบนอานให้สะโพกและลำตัวนิ่งที่สุดการฝึกแบบนี้จะช่วยให้มี สมาธิ และผ่อนคลาย สำหรับตอนขึ้นเขาเลือกใช้เกียร์ที่เหมาะสม นั่งปั่นบนอาน ปั่นด้วยจังหวะที่สม่ำเสมอ และพยายามปั่นให้เป็นวงกลมราบเรียบไม่กระตุก รอบขาต้องพอดีที่ทำให้สมองกับขาสามามารทำงานสัมพันธ์ได้ ฝึกกล้ามเนื้อน่องโดยใช้เทคนิคแทงเข่าของNED OVEREND กรณีที่ไม่มีเขา ก็ซ้อมเวลา ขี่ตาม-ทวนลมก็ได้


ความสำคัญของVO2 Max
ในขณะที่คุณกำลังใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ที่จะขี่จักรยานขึ้นเขาสูงๆหนึ่ง ทันใดนั้นก็มีนักจักรยานอีกคนหนึ่ง ขี่จักรยานแซงขึ้นไปซักพักก็ขึ้นถึงยอดเขาแล้วก็ทิ้งคุณไว้ข้างและหายลับตา ไป เหลือไว้แต่ความท้อใจ สับสน ทำไม? คุณย่อมต้องการคำตอบแน่นอนคำตอบของคนส่วนใหญ่คือ เขามีอะไรดีกว่าเรา, เขาทานอาหารอะไร, เขาโด้ปยาไหม หรือรถเขาเบากว่าเราเยอะ คำตอบคือไม่ใช่ เพราะส่วนใหญ่ของคำตอบที่ถูกคือเขามีค่าVO2 MAX สูงกว่าคุณ ความหมายของค่านี้คือความสามารถในการแยกออกซิเจนในอากาศที่หายใจเข้าไป เพื่อสันดาปกับสารอาหารให้เกิดพลังงาน ต่อน้ำหนักตัว สุงสุดเท่าที่ร่างกายจะสามารถทำได้ บางครั้งก็นำมาแทนหรือกำหนดค่าของaerobic capacity ซึ่งจะบอกถึงความทนทานของนักกีฬาที่ต้องใช้พลังงาน นานๆและต่อเนื่องเช่น ว่ายน้ำ ,จักรยานหรือ นักสกีข้ามภูมิประเทศ V คือ ปริมาตรของอากาศ, O2 คือกาซออกซิเจน ความหมายของVO2MAXก็คือปริมาณออกซิเจนสูงสุดที่ร่างกายสามารถแยกออกมาใช้ สันดาปกับสารอาหารเพื่อสร้างพลังงานมีหน่วยเป็นลิตรต่อนาทีกิโลกรัมเทียบกับ น้ำหนักของนักกีฬาคนนั้น ดังนั้นคนไหนที่มีค่านี้มากย่อมแสดงว่าสมรรภาพย่อมมากคนที่น้อยกว่า การตรวจหาค่านี้อย่างถูกต้องนัอันยุ่งยากและซับซ้อนมาก ผู้ทดสอบจะปั่นจักรยานที่ใช้ทดสอบ โดยจะให้ขี่จักรยานที่รอบขาคงที่ค่าหนึ่ง จากนั้นก็ค่อยเพิ่มความหนักของเกียร์ให้มากขึ้นๆ จนไม่สามารถขี่ที่รอบขาดังกล่าวแล้ว จะมีเครื่องมือที่วัดความเข้มข้นของอากาศที่หายใจเข้า หายใจออกแล้วนำมาลบหาส่วนต่างที่หายไปซึ่งก็คือปริมาณออกซิเจนที่ร่างกายแยก เอาไปใช้ ต่อหนึ่งนาที่ได้เท่าไหร่หารด้วยน้ำหนักตัวของผู้ทดสอบ ปกติต่าเหล่านี้จะแตกต่างกัน ในนักจักรยานระดับอาชีพค่านี้จะอยู่ระหว่าง 65-75ลูกบาศก์เซนติเมตรต่อนาทีต่อกิโลกรัมเช่นนักกีฬาคนหนึ่งมีค่าVO2max=65 ถ้าเราอยากทราบว่าเขาใช้ออกซิเจนเข้าไปสันดาปอาหารได้เท่าไหร่คือ 82x65=5300ลูกบาศก์เซนติเมตรหรือ 5ลิตรกว่าในหนึ่งนาที ซึ่งเมื่อเทียบกับตอนที่เขาอยู่นิ่งๆเขาใช้ออกซิเจนแค่ 287ลูกบาศก์เซนติเมตรเท่านั้น สำหรับนักจักรยานผู้หญิงที่ฟิตมากค่านี้จะประมาณ 50-60 ,โค้ชที่เอาแต่สอนไม่ค่อยได้ซ้อม35-45 พบว่ากรรมพันธ์มีส่วนเกี่ยวข้องกับค่านี้ คนที่ไม่เคยฝึกมาเหมือนกันแต่อาจจะมีค่าที่มากกว่ากันได้แต่เราสามารถฝึก เพิ่มเพิ่มค่านี้ให้สูงขึ้นได้ เช่นสำหรับคนที่ไม่เคยฝึกมาก่อนสามารถฝึกให้ค่านี้สูงขึ้นได้15-20%ภายใน เวลา 3-4เดือนจากการฝึกอย่างสม่ำเสมอแต่เมื่อค่านี้ถูกฝึกขึ้นมาจนสูงระดับหนึ่ง แล้วการจะจะฝึกให้สูงขึ้นช่วงหลังๆจะทำได้ยากขึ้นๆ บางคนเพิ่มค่านี้ได้เพียง4-5%เท่านั้นตลอดฤดูการแข่งขันและที่แย่กว่านั้น การการหยุดซ้อมในเวลาแค่3อาทิตย์ค่านี้จะลดลงอย่างเร็วอาจจะถึง30%เลยที เดียว แต่ถ้ากลับมาซ้อมใหม่อย่างต่อเนื่องภายใน10วันค่านี้ก็จะกลับมาเท่าเดิมได อีกวจะว่าไปแล้ว ถ้าจะเทียบ ค่าVO2 max กับ รถยนต์ คงใกล้เคียงกับแรงม้า การปรับแต่งเครื่องยนต์ ก็มีหลากหลายวิธี รถที่มีแรงม้าสูงมากๆ ระดับF1 มันจะมีความสมบูรณ์ในตัวเกือบทุกอย่าง ทั้งโครงสร้าง เครื่องยนต์ พลังงาน แอโรไดนามิก รวมทั้งผู้ขับขี่ การที่จะพัฒนา ค่าVO2max ก็เช่นกัน ก่อนจะถึงจุดนี้พื้นฐานต่างๆก็ต้องได้ปรับ และเตรียมตัวให้พร้อมเสียก่อน ก่อนที่จะฝึกให้ค่านี้สูงขึ้น เรามาเตรียมฐานที่มั่นคงกันดีไหม สงสัยจะเป็นเรื่องยาวซะแล้ว

กฎจราจรการใช้จักรยาน

กฎจราจรเกี่ยวกับกรณีนี้มีอยู่ใน พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ อย่างน้อยก็ ๒ มาตรา คือ มาตรา ๓๗ การให้สัญญาณด้วยมือและแขน ให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้
 (๑) เมื่อจะลดความเร็วของรถ ให้ผู้ขับขี่ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอระดับไหล่ และโบกมือขึ้นลงหลายครั้ง
 (๒) เมื่อจะหยุดรถ ให้ผู้ขับขี่ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอระดับไหล่ ยกแขนขวาท่อนล่างตั้งฉากกับแขนท่อนบนและตั้งฝ่ามือขึ้น
 (๓) เมื่อจะให้รถคันอื่นผ่านหรือแซงขึ้นหน้า ให้ผู้ขับขี่ยื่นแขนขวาตรงออกไป นอกรถเสมอระดับไหล่ และโบกมือไปทางข้างหน้าหลายครั้ง
 (๔) เมื่อจะเลี้ยวขวาหรือเปลี่ยนช่องเดินรถไปทางขวา ให้ผู้ขับขี่ยื่นแขนขวาตรง ออกไปนอกรถเสมอระดับไหล่
 (๕) เมื่อจะเลี้ยวซ้ายหรือเปลี่ยนช่องเดินรถไปทางซ้าย ให้ผู้ขับขี่ยื่นแขนขวาตรง ออกไปนอกรถเสมอระดับไหล่ และงอข้อมือชูขึ้นโบกไปทางซ้ายหลายครั้ง เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ในกรณีที่รถยนตร์นั้นมีเครื่องขับอยู่ทางด้านซ้าย ให้ ผู้ขับขี่ใช้ไฟสัญญาณแทนการใช้สัญญาณด้วยมือและแขน

 มาตรา ๔๓ ห้ามมิให้ผู้ขับขี่ขับรถ
 (๑) ในขณะหย่อนความสามารถในอันที่จะขับ
 (๒) ในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น
 (๓) ในลักษณะกีดขวางการจราจร
 (๔) โดยประมาทหรือน่าหวาดเสียว อันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน
 (๕) ในลักษณะที่ผิดปกติวิสัยของการขับรถตามธรรมดา หรือไม่อาจแลเห็นทางด้านหน้าหรือด้านหลัง ด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้งสองด้านได้พอแก่ความปลอดภัย
 (๖) คร่อมหรือทับเส้นหรือแนวแบ่งช่องเดินรถ เว้นแต่เมื่อเปลี่ยนช่องเดินรถ เลี้ยวรถ หรือกลับรถ
 (๗) บนทางเท้าโดยไม่มีเหตุอันสมควร เว้นแต่รถลากเข็นสำหรับทารก คนป่วยหรือคนพิการ
 (๘) โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่น

วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เทคนิคการปั่นจักรยาน

ก่อนเริ่มปั่นจักรยาน คนที่ขี่จักรยานสองล้อเป็นแล้ว และเมื่อคุณได้มีโอกาสเป็นเจ้าของจักรยานเสือภูเขาดีๆซักคัน รับรองได้เลยว่ามากกว่าร้อยละ 90 จะต้องลองขี่กันให้สมใจอยาก ผลที่ได้หรือ สนุกแน่ บางคนถึงกับเดินขาถ่างเป็นอาทิตย์ก็มีมาแล้ว ใครที่ยังไม่มีประสพการณ์ร้ายๆอย่างนั้น และได้มีโอกาสอ่านตำราจักรยาน หรืออย่างน้อยก็ข้อเขียนนี้ ก็ขอให้จำไว้เป็นบทเรียนด้วย ว่าในครั้งแรกที่คุณได้มีโอกาสขี่จักรยานที่ได้รับการปรับตำแหน่งในการขี่ที่ถูกต้อง ห้ามใช้เวลาอยู่บนอานจักรยานเกินกว่าครึ่งชั่วโมง ไม่มีการยกเว้นแม้แต่คุณจะใส่กางเกงขี่จักรยานโดยเฉพาะก็ตาม เนื่องจากสรีระของทุกคนจะต้องอาศัยเวลาในการปรับตัวให้เข้ากับเบาะและตำแหน่งนั่งบนจักรยาน อย่าเพิ่งตะบี้ตะบันขี่นานๆ นอกจากจะเจ็บตัวแล้ว ยังทำให้เกิดอาการแหยงไม่อยากขี่จักรยาน หลักง่ายๆที่ใช้ก็คือใช้นาฬิกาตั้งเวลาไว้15นาที แล้วก็ขี่จักรยานออกไปเรื่อยๆ ครบ15นาทีตรงไหนก็ขี่กลับเส้นทางเดิม ถ้าไม่แวะไปเถลไถลที่ไหนก็จะใช้เวลาขี่ราวๆครึ่งชั่วโมงพอดี เราจะใช้เวลาบนจักรยานวันละครึ่งชั่วโมงนี้ประมาณ 4-5 วันหรือถ้าใครมีเวลาเยอะหน่อยก็ซ้ำเป็น 6 วันติดๆกันเลยก็ดีค่ะ แต่หลังจากหมด 4-6 วันแรกนี้แล้วขอบังคับให้หยุดขี่ 1-2 วันเพื่อเป็นการพักร่างกาย หลักการปั่นจักรยาน อันนี้เป็นหลักการ ปั่น จักรยานที่ถูกต้อง ใช้ประกอบตั้งแต่บทเรียนที่หนึ่งไปจนจบหลักสูตรพื้นฐานเลยล่ะค่ะ เคยสังเกตุบ้างไหมคะว่าเวลาพูดชวนกันไปขี่จักรยาน หลายๆคน(โดยเฉพาะผู้สูงอายุ)มักใช้คำว่า ไป ถีบ จักรยานกัน ลองมาดูความแตกต่างของสองคำนี้จะรู้ได้เลยว่ามันผิดกันที่ ความเร็ว ของขา เวลาเราขี่จักรยานให้ถูกต้องจึงต้องซอยขาปั่นกันยิกๆ ไม่ใช่ ถีบไปเรื่อยๆ เลือกใช้เกียร์ให้ถูกต้อง มือสับเกียร์ข้างซ้ายอยู่เลข2-จานกลาง/มือสับเกียร์ข้างขวาอยู่เลข 2 หรือ 3 แล้วก็ใช้เกียร์นั้นไปตลอดโดยไม่มีการเปลี่ยนเกียร์ ปั่นขาที่ 80 รอบต่อนาทีให้ตลอดเวลา โดยไม่มีการฟรี หรือ หยุดรถ จนกว่าจะครบเวลา หัดปั่นในทางราบ ไม่มีเนินเขา จะได้ไม่ต้องเปลี่ยนเกียร์ สามารถปั่นขาที่ความเร็วคงที่,ออกแรงได้คงที่ ได้ตลอดเวลา ออกไปฝึกปั่นแต่ละครั้งอย่าใช้เวลามากกว่าครึ่งชั่วโมงสำหรับสัปดาห์แรกนี้ ถนอมส่วนพึงสงวนกันไว้ก่อนเถอะค่ะ ถ้าระบมเดี๋ยวจะฝึกขี่กันได้ไม่ต่อเนื่อง ให้เวลาในการฝึกช่วงแรกนี้ 4-6 วัน ถ้าสามารถฝึกติดต่อกันได้ทุกวันจะทำให้ร่างกายชินกับจักรยานได้เร็วขึ้น จากนั้นพักการฝึก 1-2 วันโดยไม่มีการขึ้นขี่จักรยานเลย เป็นการจบการฝึกในช่วงแรก สัปดาห์ที่สองใช้เกียร์เดิม ปั่นขาที่ 80 รอบต่อนาทีเท่าเดิม แต่เพิ่มเวลาในการขี่เป็นวันละไม่เกิน 1 ชม.(อย่าน้อยกว่า 45 นาที คงจะเจียดเวลาได้

วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ต่อเน็ตขึ้นเครื่องหมายตกใจ ! Local Area Connection Status

  Local Area Connection Status เปลี่ยนฮับใหม่แล้วลงเปิดเครื่องแต่ปรากฎว่า  เครื่องใช้เน็ตไม่ได้แต่เกิดอาการ ! ขึ้นเครื่องหมายตกใจตรงรูปเครื่องคอมสองตัวที่ใช้ดูว่าเน็ตวิ่งหรือเปล่า
วิธีการแก้ไขปัญหา Local Area Connection Status 1.เครื่อง set เป็น DHCP แล้วขึ้นเครื่องหมายตกใจ อาจเป็นเพราะว่าหา DHCP Server ไม่เจอ
2. ให้ลอง Fix Ip
3. ถ้าไม่ได้จริงให้เค้าไปที่ ส่วนนี้ไม่ได้ขึ้นมาเพราะมีปัญหาเสมอไป เช่นถ้า LAN Card เป็นแบบ Gigabit 1000 Mbps (1 Gbps) แต่ตัว Server สนับสนุนแค่ 100 Mbps มันก็ขึ้นแบบนี้เพื่อแสดงว่าความเร็วถูก Limit เอาไว้แค่ 100 Mbps

4. ระบบเครื่องเรา fix ip หรือ dhcp อาจจะเกิดเพราะไอพี่ชน หรือไม่ได้ไอพีที่ฝั่งเซิฟเวอร์ปล่อยมา หรือเกิดจากเน็ตเวิคของเครื่องค้าง ==> เข้าไปที่ Network connection -> local area Network (right click)->disable->local area network ->(right click)->enable ลองดูว่าหายไหม
5. ให้ลอง ปิงไอพีดูว่าไอพีนี้สามารถรับส่งข้อมูลได้หรือเปล่า 6. เช็คสายที่ใช้เชื่อมต่อดูว่าสายมีปัญหาไหม 7. ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ปิดฮับ แล้วเปิดเครื่องดูว่าอาการตกใจหายหรือยัง

วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ระบบเครือข่ายLAN (สายแลน LAN )

การเดินทางของสายแลนที่เราใช้อินเตอร์เน็ตมีหน้าที่และมีความสำคัญมาก ในการที่เราจะรู้จักสายแลนและระบบเครือข่ายแลน
ระบบเครือข่าย
ระบบเครือข่าย LAN
LAN ย่อมาจาก Local Area Network คือ กลุ่มของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงเข้าด้วยกันในพื้นที่ที่จำกัด เช่น ภายในอาคารเดียวกัน โดยคอมพิวเตอร์ที่ต่อกันอยู่นั้นสามารถที่จะแบ่งกันใช้ข้อมูล สามารถโอ้นย้ายข้อมูลระหว่างเครื่องได้รวมทั้งยังสามาใช้อปกรณ์ต่างๆร่วมกันได้อีกด้วย เรามักจะพบเครื่องคอมพิวเตอร์สแกนเนอร์ร่วมกัน หรืออาจสรุปได้ง่ายๆว่า LAN คือ ระบบเครือข่ายชนิดหนึ่งที่ใช้ในพื้นที่ที่จำกัดนั้นเอง

ระบบ WAN
ระบบ WAN ย่อมาจาก Wide Area Network เป็นเครือข่ายคอมพวเตอร์เช่นเดียวกันกับ LAN แต่เป็นเครือข่ายที่ใหญ่ขึ้นมาอีก ได้แก่ การเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างเมือง มักจะใช้เพื่อการเชื่อมโยงระหว่างเครื่อข่ายที่อยู่พื้นที่ห่างไกลกันให้สามรถรับส่งข้อมูลกันได้ เช่น เร้าเตอร์ (router),โมเด็ม(modem) และอาจจะมีอุปกรณ์อื่นๆหรือเชร์ฟเวอร์ต่างๆเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

ระบบ Internet คือ ระบบการสือสารข้อมูลโดยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีการเชื่อมต่กันอยู่ทั่วโลก เพราะจุดให้บริการเครือข่าย (Server) ในแต่ละมาตรฐานการติดต่อสื่อสาร (Protocol) อันเดียวกันคือ TCP/IP มีศูนย์กลางที่ประเทศสหรัฐอเมริกา และกระจายเครือข่ายอยู่ทั่วโลก

การเชื่อมต่อกับระบบ Internet
การเชื่อมต่อกับระบบ Internet ผู้ใช้บริการจะต้องติดต่อกับผู้ให้บริการ ISP (Internet Service Provider) เพื่อสมัครสมาชิกและขอหมายเลขบัญชี เพื่อโทรศัพท์เข้าศูนย์บริการ โดยติดต่อกับ Modem เพื่อทำการแปลงสัญญาณดิจิตอลของคอมพิวเตอร์เป็นสัญญาณโทรศัพท์แล้วส่งผ่านข้อมูล ไปตามสายโทรศัพท์ และเมื่อมีการส่งข้อมูลกลับมา Modem จะทำหน้าที่แปลงสัญญาณโทรศัพท์ไปเป็นสัญญาณดิจิตอล โดยข้อมูลทั้งหมดจะถูกนำเข้ามาและส่งออกโดยใช้

การเข้าหัวสาย UTP (Cat5)แบบ RJ-45
การเข้าหัวสาย UTP แบบ RJ-45 เพือนำไปใช้ในระบบ LAN สายนี้สามารถใช้ได้กับระบบ LAN ที่มีความเร็ว 10 หรือ 100 Mbps ได้ทั้ง 2 ระดับ แต่ถ้าจะใช้ที่ระดับ 100Mbps ควรใช้เส้นค่อนข้างสั้นและต้องเป็นเกรดดีสักหน่อย

ประเภทของสาย UTP
สาย UTP สำเร็จรูปที่มีขายตามท้องตลาดสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ตามลักษณะการใช้งาน 1. สายตรง (Straight-though Cable) คือสายปกติทั่วไปที่ใช้เชื่อต่อระหว่างการ์ด LAN และ Hub/Switch
2. สายไข้ว (Crossover Cable) โดยส่วนมากเชื่อมต่อระหว่างการ์ด LAN 2 การ์ด เพื่อให้เครื่องพีซี 2 ตัว สามารถติดต่อกันได้โดยตรงไม่ต้องผ่าน Hub หรือ Switch นอกจากนี้ยังสามารถใช้เชื่อมต่อ Hub หรือ Switch 2 ตัวเข้าด้วยกันเพื่อขยายพอร์ต ซึ่งเราเรียกการต่อแบบนี้ว่า Cascade นั่นเอง
สิ่งที่ต้องเตรียมในการเข้าหัวสาย LAN 1. เครื่องมือสำหรับเข้าหัวสาย (RJ-45 Crimping Tool)
2. หัวต่อ RJ-45
3. สาย UTP แบบ Category 5 (CAT5) ภายในลวด 8 เส้น

การอ้างอิงหมายเลข PIN ของหัวต่อ RJ-45
หัวต่อ RJ-45 จะมีทั้งหมด 8 PIN ซึ่งเท่ากับจำนวนส้นลวดในสาย UTP โดยมีวิธีอ้างอิงหมายเลข PIN เพื่อใช้ในการเข้าหัวสาย

สีของฉนวนหุ้มเส้นลวดในสาย UTP
หากปอกเปลือกชั้นนอกของสาย UTP ออกมา (ค่อยๆปอกโดยอย่าให้โดนฉนวนหุ้มสายชั้นในขาดไปด้วยเด็ดขาด) จะเห็นลวดเส้นเล็กๆ อยู่ 8 เส้น แต่ละเส้นหุ้มฉนวนที่มีสีสันแตกต่างกันไป สีที่เห็นนี้เป็นสีมาตราฐานที่ใช้กัน ซึ่งรายละเอียดของสีแสดงไว้ในตารางต่อไปนี้
สี ลักษณะ
ขาว-น้ำเงิน เป็นสีขาวส่วนใหญ่และขลิบหรือป้ายด้วยสีน้ำเงินหรือสีฟ้าเป็นหย่อมๆ
น้ำเงิน เป็นสีน้ำเงินหรือสีฟ้าตลอดทั้งเส้น
ขาว-ส้ม เป็นสีขาวส่วนใหญ่ และขลิบหรือป้ายด้วยสีส้มเป็นหย่อมๆ
ส้ม เป็นสีส้มตลอดทั้งเส้น
ขาว-เขียว เป็นสีขาวส่วนใหญ่ และขลิบหรือป้ายด้วยสีเขียวเป็นหย่อมๆ
เขียว เป็นสีเขียวตลอดทั้งเส้น
ขาว-น้ำตาล เป็นสีขาวส่วนใหญ่ และขลิบหรือป้ายด้วยสีน้ำตาลเป็นหย่อมๆ
น้ำตาล เป็นสีน้ำตาลตลอดทั้งเส้น

ขั้นตอนการเข้าหัวสาย
วัดระยะทางของสายที่ต้องใช้ เช่น จากเครื่องพีซีไปยัง Hub/Switch หรือระหว่างเครื่องพีซี 2เครื่อง ในกรณีที่คุณต้องการใช้สายแบบ Crossover เป็นต้น แต่ถ้ายังไม่ตัดสินใจว่าจะตั้งเครื่องไว้ที่ไหน ก็เผื่อระยะที่ยาวๆไว้ก่อน ตัดสาย UTP ให้ยาวตามระยะที่วัดได้หรือตามที่ต้องการ ขอแนะนำควรจะตัดสายให้ยาวๆ ไว้ดีกว่าทำสายสั้นๆ เนื้องจากสายที่ยาวสามารถจะม้วนเก็บหรือตัดให้สั้นลงภายหลังได้ แต่ถ้าทำสายสั้นๆหรือพอดีเลยเวลาจะย้ายที่ตั้งก็อาจต้องหาสายที่ยาวกว่ามาใช้ (ข้อควรระวัง คืออย่าลืมว่าระยะทางของสายจาก Hub/Switch มาเครื่องพีซีจะต้องไม่เกิน 100 เมตร) ปอกเปลือกนอกของสาย UTP ออกด้วยเครื่องมือเข้าหัวสายโดยสอดปลายสายเข้าไปในช่องที่เขียนว่า “Strip” ให้สุดแล้วบีบเครื่องมือจนได้ยินเสียงคลิกก่อนจึงสามาคลายเครื่องมือออกได้

ตารางการจัดเรียงสีสำหรับสายตรง (Straight Though)
PIN ลำดับสี (ทั้ง 2 ด้าน)
1 ขาว-ส้ม
2 ส้ม
3 ขาว-เขียว
4 น้ำเงิน
5 ขาว-น้ำเงิน
6 เขียว
7 ขาว-น้ำตาล
8 น้ำตาล

ตารางการจัดเรียงสีสำหรับสายไขว้ (Crossover)
ลำดับสีด้านซ้าย PIN ลำดับสีด้านขวา
ขาว-ส้ม 1 ขาว-เขียว
ส้ม 2 เขียว
ขาว-เขียว 3 ขาว-ส้ม
น้ำเงิน 4 น้ำเงิน
ขาว-น้ำเงิน 5 ขาว-น้ำเงิน
เขียว 6 ส้ม
ขาว-น้ำตาล 7 ขาว-น้ำตาล
น้ำตาล 8 น้ำตาล

ระดับความเร็วของอุปกรณ์
การ์ด LAN ในเครื่องพีซีที่ใช้จะต้องสนับสนุนระดับความเร็วเดียวกับ Hub หรือ Switch ด้วย คือ ถ้าการ์ด LAN สนับสนุนความเร็ว 10 Mbps ที่ Hub หรือ Switch ก็จะต้องสามารถสนับสนุนที่ความเร็ว 10 Mbps ด้วย (อาจเป็นแบบ 10 Mbps อย่างเดียวหรือ 10/100 Mbps ) ทางที่ดีถ้ายังมีบางเครื่องเป็น 10 Mbps อยู่ก็ต้องเปลี่ยนทั้งการ์ด Hub หรือ Switch รุ่นที่เป็น 10/100 Mbps ซึ่งสนับสนุนทั้ง 2 ระดับ

ประเภทของสายที่ใช้ต่อ
สายที่ใช้จะต้องเป็นสาย UTP แบบ Cat5 (Category 5) และเข้าหัวแบบ RJ-45 ถูกต้องตามมาตรฐานไม่ว่าจะเป็นแบบ EIA/TIA 568B หรือ 568A ก็ได้
สายที่ใช้ต่อระหว่างการ์ด LAN และ Hub หรือจะเป็นสายแบบตรง (Straight-though) สายที่ใช้ต่อระหว่างพอร์ตธรรมดาของ Hub หรือ Switch 2 ตัว จะต้องเป็นสายแบบไขว้ (Crossover) สายที่ใช้ต่อระหว่างการ์ด LAN ของเครื่องพีซี 2 เครื่อง เพื่อให้สามารถคุยกันได้โดยไม่ต้องผ่าน Hub/Switch 
จะต้องใช้สายแบบไข้ว

เส้นใยแก้วนำแสง หรือ ไฟเบอร์ออฟติกส์ (Fiber Optic Cable)
หลักการทั่วไปของการสื่อสารในสายไฟเบอร์ออปติกคือการเปลี่ยนสัญญาณ (ข้อมูล) ไฟฟ้าให้เป็นคลื่นแสงก่อน จากนั้นจึงส่งออกไปเป็นพัลส์ของแสงผ่านสายไฟเบอร์ออปติกสายไฟเบอร์ออปติกทำจากแก้วหรือพลาสติกสามารถส่งลำแสง ผ่านสายได้ทีละหลาย ๆ ลำแสงด้วยมุมที่ต่างกัน ลำแสงที่ส่งออกไปเป็นพัลส์นั้นจะสะท้อนกลับไปมาที่ผิวของสายชั้นในจนถึงปลายทาง
จากสัญญาณข้อมูลซึ่งอาจจะเป็นสัญญาณอนาล็อกหรือดิจิตอล จะผ่านอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่มอดูเลตสัญญาณเสียก่อน จากนั้นจะส่งสัญญาณมอดูเลตผ่านตัวไดโอดซึ่งมี 2 ชนิดคือ LED ไดโอด (light Emitting Diode) และเลเซอร์ไดโอด หรือ ILD ไดโอด (Injection Leser Diode) ไดโอดจะมีหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณมอดูเลตให้เป็นลำแสงเลเซอร์ซึ่งเป็นคลื่นแสงในย่านที่มองเห็นได้ หรือเป็นลำแสงในย่านอินฟราเรดซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้ ความถี่ย่านอินฟราเรดที่ใช้จะอยู่ในช่วง 1014-1015 เฮิรตซ์ ลำแสงจะถูกส่งออกไปตามสายไฟเบอร์ออปติก เมื่อถึงปลายทางก็จะมีตัวโฟโต้ไดโอด (Photo Diode) ที่ทำหน้าที่รับลำแสงที่ถูกส่งมาเพื่อเปลี่ยนสัญญาณแสงให้กลับไปเป็นสัญญาณมอดูเลตตามเดิม จากนั้นก็จะส่งสัญญาณผ่านเข้าอุปกรณ์ดีมอดูเลต เพื่อทำการดีมอดูเลตสัญญาณมอดูเลตให้เหลือแต่สัญญาณข้อมูลที่ต้องการ

สายไฟเบอร์ออปติก
สายไฟเบอร์ออปติกสามารถมีแบนด์วิดท์ (BW) ได้กว้างถึง 3 จิกะเฮิรตซ์ (1 จิกะ = 109) และมีอัตราเร็วในการส่งข้อมูลได้ถึง 1 จิกะบิตต่อวินาที ภายในระยะทาง 100 กม. โดยไม่ต้องการเครื่องทบทวนสัญญาณเลย สายไฟเบอร์ออปติกสามารถมีช่องทางสื่อสารได้มากถึง 20,000-60,000 ช่องทาง สำหรับการส่งข้อมูลในระยะทางไกล ๆ ไม่เกิน 10 กม. จะสามารถมีช่องทางได้มากถึง 100,000 ช่อง

ความผิดพลาดในการส่งข้อมูลผ่านสายไฟเบอร์ออปติกนั้นมีน้อยมาก คือประมาณ 1 ใน 10 ล้านบิตต่อการส่ง 1,000 ครั้ง เท่านั้น ทั้งยังป้องกันการรบกวนจากสัญญาณภายนอกได้โดยสิ้นเชิง แม้ว่าการส่งข้อมูลผ่านทางสายไฟเบอร์ออปติก จะทำได้อย่างมีประสิทธิภาพยอดเยี่ยม และจำนวนมหาศาลดังกล่าวมาแล้วก็ตามแต่เราต้องคำนึงถึง ปัญหาและความเหมาะสม บางประการอีกด้วย

ข้อจำกัด
1. ราคา ทั้งสายไฟเบอร์ออปติกและอุปกรณ์ประกอบการทั้งหลายมีราคาสูงกว่าการส่งสัญญาณผ่านสายเคเบิลธรรมดามาก
2. อุปกรณ์พิเศษสำหรับการเปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นคลื่นแสง และจากคลื่นแสงกลับมาเป็นสัญญาณไฟฟ้า และยังมีเครื่องทบทวนสัญญาณอีก อุปกรณ์ดังกล่าวเป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ซึ่งมีความซับซ้อน และราคาแพงมาก
3. เทคนิคในการติดตั้งระบบ เนื่องจากสายไฟเบอร์ออปติกมีความแข็งแต่เปราะจึงยากต่อการเดินสายไฟตามที่ต่าง ๆ ได้ตามที่ต้องการ อีกทั้งการเชื่อมต่อระหว่างสายก็ทำได้ยากมาก เพราะต้องระวังไม่ได้เกิดการหักเห
ความยาวของสาย
ความยาวสายจากการ์ด LAN ไปยัง Hub หรือ Switch ได้สูงสุดไม่เกิน 100 เมตร ถ้าต้องการเกินกว่านี้จะต้องหา Hub หรือ Switch อีกตัวมาต่อแบบ Cascade ระยะห่างระหว่าง Hub หรือ Switch แบบ 10Mbps ได้ไม่เกิน 100 เมตร ระยะห่างระหว่าง Hub แบบ Ethernet 2 ตัว จะยาวไม่เกิน 5 เมตรเท่านั้น


ทำไมต้องใช้เครื่อง UPS

          


                เครื่องสำรองไฟ  หรือ UPS  มีความสำคัญมากสำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิก เพราะจะช่วยในเรื่องของไฟฟ้าตก ไฟฟ้ากระชาก  มีบ้างท่านบอกว่าไม่จำเป็นที่จะต้องใช้เครื่องสำรองไฟ  แต่เป็นความคิดที่ผิด ในการใช้งานเราไม่สามารถคาดคะเนว่าเหตูการไฟฟ้าขัดข้องจะเกิดเมือไร  ทางที่ดีเราควรที่มีไว้ใช้สำหรับอุปกรณ์สำคัญ  เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์เซิฟเวอร์  , สวิตซ์  และอุปกรณ์อื่นๆ ที่ใช้ไฟฟ้าทำงาน
เรามารู้จักหน้าที่ของเครื่องสำรองไฟ หรือ UPS กันดีกว่า
พลังงานไฟฟ้าจะไหลผ่านตรงไปยังอุปกรณ์ไฟฟ้า โดยมีเพียงวงจร RFI Filtering เท่านั้นที่จะช่วยกรองสัญญาณรบกวน และเมื่ออยู่ในสภาวะไฟฟ้าดับ หรือไฟฟ้าตกหรือเกินจากค่าที่กำหนด เช่น (220+/-15%) วงจรควบคุมภายในเครื่อง UPS จะตรวจพบและสั่งการให้วงจร DC/AC Inverter ทำงาน (Inverter Mode/Battery Mode) เพื่อแปลงไฟฟ้า (DC) จากแบตเตอรี่ให้กลายเป็นไฟฟ้าสลับ (AC) เพื่อจ่ายให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่อไป *โดยรูปคลื่นไฟฟ้าสลับจากวงจรอินเวอร์เตอร์นี้ อาจจะเป็นรูปคลื่นแบบรูปสี่เหลี่ยม(Step wave) หรือเป็นรูปคลื่นแบบไซน์เวฟ (Sine wave) เช่นเดียวกันกับรูปคลื่นไฟฟ้าแบบปกติของการไฟฟ้าแห่งประเทศไทย หลังจากนั้นหากไฟฟ้าจากการไฟฟ้ากลับมาสู่สภาวะปกติ วงจรควบคุมภายในเครื่อง UPS ก็จะสั่งการให้ Switch กลับมาเชื่อมต่อโดยตรงกับแหล่งไฟฟ้าจากการไฟฟ้า เพื่อจ่ายไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ต่อไป ทั้งนี้ในระหว่างการโอนย้าย Switch จะมีรูปคลื่นไฟฟ้าขาดหายไปประมาณ 2 ms ซึ่งจะเรียกว่า Transfer Time


ข้อดี
- ต้นทุนต่ำราคาถูก
- ขนาดเล็ก เสียงเงียบเมื่ออยู่ใน Standby mode
- ประสิทธิภาพสูง


ข้อเสีย
- ป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้าให้ปลอดภัยจากสภาวะไฟฟ้า Spike, Surgeได้จำกัด
- ควบคุมแรงดันไฟฟ้าที่จ่ายให้อุปกรณ์ได้จำกัด จะได้ประมาณ +/- 10~15 %
- ไม่สามารถรับแรงดันไฟฟ้าด้านขาเข้าได้กว้าง ปกติจะได้ประมาณ +/- 10~15%
- มีรูปคลื่นไฟฟ้าขาดหายไปประมาณ 2 ms ในระหว่างโอนย้ายจากการจ่ายไฟฟ้าปกติไปยังแหล่งจ่ายแบตเตอรี่
- ไม่มีระบบสำรองในกรณีที่ Inverter เสีย หรือ อุปกรณ์กินไฟฟ้ามากกว่าปกติในชั่วขณะ


วันที่ 22 มิถุนายน 2555
ขอบคุณรูปภาพประกอบจาก ruamhua.com


   



วันพฤหัสบดีที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การเลือกซื้อ สวิตซ์ฮับ มาเปลี่ยนเครื่องที่เสีย

    ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์  ได้สั่งซื้ออุปกรณ์กระจายสัญญาณ สวิตซ์ฮับ  และเครื่องสำรองไฟ เพื่อมาใช้ในการจายสัญณาณอินเตอร์ไปยังจุดต่างๆ  ภายในโรงเรียน  มารู้จักกับสวิตซ์กันดีกว่า


สวิตซ์ฮับ


           สวิตซ์ (Switch) นี้ไม่ได้หมายถึงสวิตซ์เปิด-ปิดไฟ แต่หมายถึงอุกรณ์ในการเชื่อมโยงข้อมูลในระบบเครือข่าย เช่นเดียวกับฮับ ซึ่งสวิตซ์ถูกพัฒนามาแทนที่ฮับ เนื่องจากปัญหาของฮับการรับส่งข้อมูลที่ช้า และต้องรอการรับส่งข้อมูลอยู่ตลอดเวลา?มีหลายรุ่น เช่น  Switch 4 Ports, 8 Ports, 16 Ports, 24 Ports หรือ 48 Ports? และจุดเด่นที่สำคัญคือ สวิตซ์มีความสามารถในการรับส่งข้อมูลที่สูงกว่าฮับอีกด้วย การรับส่งข้อมูลของสวิตซ์ (Switch) การรับส่งข้อมูลผ่านสวิตซ์จะสามารถทำงานได้พร้อมๆ กันกับหลายๆ อุปกรณ์เรียกว่าแทบไม่ต้องรอให้มีการรับส่งข้อมูลเสร็จก่อนเลย และแน่นอนการทำงานของสวิตซ์จะทำงานได้เร็วกว่าฮับมาก ข้อย้ำ! ส่วนการเลือกซื้อ Switch นี้จะต้องศึกษาอีกหลายๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็น ยี่ห้อ รุ่น จำนวนช่องในการเชื่อมต่อ และที่สำคัญ Switch ยังมีการแบ่งเป็นรุ่นที่ Manage และ Un-Manage ซึ่งเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการสวิตซ์ให้สูงขึ้นอีกด้วย ดังนั้น ราคารจะเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว? สวิตซ์บางรุ่นราคาเป็นแสนเลยทีเดียว ความเร็วในการรับส่งข้อมูลของสวิตซ์


 เริ่มต้นความเร็วที่ 10 MBPS 
บางรุ่นรองรับได้ 100 MBPS 
รุ่นใหม่ๆ รองรับได้ 1000 MBPS 
  
วันที่ 21 มิถุนายน 2555
ขอบคุณรูปภาพประกอบ www.itfocusthai.com
   

วันพุธที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555

งานพัสดุ "การจำหน่ายครุภัณฑ์" ชำรุด ใช้ประโยชน์ไม่ได้

    โรงเรียนมีคอมพิวเตอร์ที่เก่าแก่มาก  และไม่สามารถใช้งานได้  เจ้าหน้าที่พัสดุเริ่มทำงานโดยการจำหน่ายครุภัณฑ์  ตามระเบียบว่าด้วยการพัสดุ ซึ่งเป็นเครื่องที่ชำรุด  ใช้งานไม่ได้  และมีอายุเก่ามาก
มีวิธีตามขั้นตอนระเบียบว่าด้วยการพัสดุ  ดังนี้
การตรวจสอบพัสดุประจำปี 


        1. ก่อนวันที่ 30 กันยายน ของทุกปีให้หัวหน้าส่วนราชการออกคำสั่งแต่งตั้งเจ้าหน้าที่คนหนึ่งหรือหลายคนตามความจำเป็น ซึ่งมิใช่เป็นเจ้าหน้าที่พัสดุ เพื่อทำการตรวจสอบการรับจ่ายพัสดุงวดตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมปีก่อน จนถึงวันที่ 30 กันยายน ปีปัจจุบัน และตรวจนับพัสดุประเภทที่คงเหลืออยู่เพียงวันสิ้นงวดนั้น ตามระเบียบฯ ข้อ 155


       2. เมื่อคณะกรรมการตรวจสอบพัสดุประจำปีที่ได้รับแต่งตั้ง จะต้องดำเนินการตรวจสอบพัสดุโดยเริ่มตั้งแต่วันทำการแรกของเดือนตุลาคมเป็นต้นไป ว่าการรับจ่ายถูกต้องหรือไม่ พัสดุคงเหลือมีตัวอยู่ตรงตามบัญชีหรือทะเบียนหรือไม่ มีพัสดุใดชำรุด เสื่อมคุณภาพ หรือสูญไป เพราะเหตุใด หรือพัสดุใดไม่จำเป็นต้องใช้ในราชการต่อไป แล้วให้เสนอรายงานผลการตรวจสอบต่อผู้แต่งตั้งภายใน 30 วันทำการนับแต่วันเริ่มดำเนินการตรวจสอบพัสดุ โดยรายงานผลการตรวจสอบพัสดุทั้งวัสดุและครุภัณฑ์ให้หัวหน้าส่วนราชการ และหัวหน้างานพัสดุ ทราบต่อไป 


        3. เมื่อผู้แต่งตั้งได้รับรายงานผลการตรวจสอบพัสดุประจำปี ให้ส่งรายงานไปยังสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินส่วนภูมิภาค จำนวน 1 ชุด โดยจัดส่งไปเฉพาะคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบพัสดุประจำปีและรายงานผลการตรวจสอบพัสดุ สำหรับรายการพัสดุที่ชำรุด เสื่อมสภาพหรือสูญไปให้เก็บไว้รอการตรวจสอบที่หน่วยงาน
   
       4. เมื่อหัวหน้าส่วนราชการ ได้รับรายงานดังกล่าวและปรากฏว่ามีพัสดุชำรุด เสื่อมสภาพ หรือสูญไปหรือไม่จำเป็นต้องใช้ในราชการต่อไป ก็ให้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบหาข้อเท็จจริง เว้นแต่กรณีที่เห็นได้ว่าเป็นการเสื่อมสภาพเนื่องมาจากการใช้งานตามปกติ หรือสูญไปตามธรรมชาติ ให้หัวหน้าส่วนราชการพิจารณาสั่งการให้ดำเนินการจำหน่ายต่อไปก็ได้
     
       5. เมื่อหัวหน้าส่วนราชการได้รับรายงานผลการสอบหาข้อเท็จจริงจากคณะกรรมการสอบหาข้อเท็จจริง ปรากฏว่าพัสดุใดหมดความจำเป็นหรือหากใช้ในการปฏิบัติราชการต่อไปจะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากให้เจ้าหน้าที่พัสดุเสนอรายงานต่อหัวหน้าส่วนราชการ เพื่อพิจารณาสั่งการให้ดำเนินการจำหน่ายตามวิธีที่ระเบียบพัสดุ ข้อ 157 กำหนดไว้ ดังนี้
                 5.1 ขายให้ดำเนินการขายโดยวิธีทอดตลาดก่อน เว้นแต่การขายพัสดุครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาซื้อหรือได้มารวมกันไม่เกิน 100,000 บาท จะขายโดยวิธีตกลงราคาโดยไม่ต้องทอดตลาดก่อนก็ได้
                 5.2 แลกเปลี่ยน กับส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
                 5.3 โอน ให้ส่วนราชการอื่น รัฐวิสาหกิจ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
                 5.4 แปรสภาพหรือทำลาย การแปรสภาพ เช่น เก้าอี้นักเรียนชำรุด จำนวน 10 ตัว ก็นำขาและพนักพิงมาแปรสภาพจัดทำเป็นเก้าอี้ตัวใหม่ หรือนำเครื่องพิมพ์ดีดที่ชำรุดใช้งานไม่ได้มาแปรสภาพเป็นวัสดุฝึกแต่ถ้าหากโดยสภาพของพัสดุผุพัง ไม่สามารถนำไปแปรสภาพได้ก็ให้ทำลายโดยการเผา หรือ ฝัง เป็นต้น


                เงินที่ได้จากการจำหน่ายพัสดุ ให้ถือปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ หรือข้อตกลงในส่วนที่ใช้เงินกู้หรือเงินช่วยเหลือ แล้วแต่กรณี ตามระเบียบฯ ข้อ 158 โดยปกติจะนำเงินจากการจำหน่ายพัสดุ ส่งแผ่นดินซึ่งถือเป็นรายได้แผ่นดิน ไม่ว่าพัสดุนั้นจะซื้อมาด้วยเงินรายได้ หรือ เงินแผ่นดิน การจำหน่ายพัสดุเป็นสูญ
                ในกรณีที่พัสดุสูญไปโดยไม่ปรากฏตัวผู้รับผิดหรือมีตัวผู้รับผิดแต่ไม่สามารถชดใช้ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยความรับผิดทางแพ่งของเจ้าหน้าที่ส่วนราชการ หรือมีตัวพัสดุแต่ไม่สามารถดำเนินการจำหน่ายตามวิธีตามข้อ 1.1-1.4 ได้ ก็ให้จำหน่ายเป็นสูญ ถ้าพัสดุนั้นมีราคาซื้อหรือได้มารวมกันไม่เกิน 500,000 บาท ให้หัวหน้าส่วนราชการเป็นผู้พิจารณาอนุมัติได้เลย ถ้าพัสดุมีราคาซื้อรวมกันเกิน 500,000 บาท ให้อยู่ในอำนาจของกระทรวงการคลังหรือส่วนราชการที่กระทรวงการคลังมอบหมายเป็นผู้พิจารณาอนุมัติ ตามระเบียบฯ ข้อ 159 6.
                 การลงจ่ายออกจากบัญชีหรือทะเบียน หลังจากที่ได้ดำเนินการจำหน่ายแล้ว ให้เจ้าหน้าที่พัสดุลงจ่ายพัสดุออกจากบัญชีหรือทะเบียนทันที แล้วแจ้งให้กระทรวงการคลัง และสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาค ทราบภายใน 30 วันนับแต่วันลงจ่ายพัสดุ รายการเอกสารหลักฐานการจำหน่ายพัสดุประจำปี ที่จะต้องแจ้งให้กระทรวงการคลังและสำนักงาน ตรวจเงินแผ่นดิน ทราบ ให้ส่งสำเนาเอกสาร ดังนี้ (ส่งอย่างละ 1 ชุด) 


              1. คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบพัสดุประจำ 
              2. รายงานผลการตรวจสอบพัสดุประจำปี 
              3. คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบหาข้อเท็จจริง
              4. รายงานผลการสอบหาข้อเท็จจริง 
              5. รายงานขออนุมัติจำหน่าย พร้อมวิธีการจำหน่ายและคำสั่งอนุมัติให้จำหน่าย
              6. คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการจำหน่ายพัสดุ
              7. รายงานผลการจำหน่ายพัสดุ
              8. สำเนาใบเสร็จรับเงินที่แสดงการนำเงินส่งเป็นรายได้แผ่นดิน 


หน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบและการจำหน่ายพัสดุประจำปี


               1. หน้าที่ของหัวหน้าส่วนราชการ หรือ ผู้ที่ได้รับมอบอำนาจ
                     1.1 แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ หรือคณะกรรมการตรวจสอบพัสดุประจำปี ตามระเบียบพัสดุฯ ข้อ 155 (ห้ามแต่งตั้งเจ้าหน้าที่พัสดุเป็นกรรมการตรวจสอบพัสดุประจำปี)
                     1.2 พิจารณารายงานผลการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจสอบพัสดุประจำปี
                     1.3 กรณีมีพัสดุชำรุดเสื่อมสภาพ และเห็นได้อย่างชัดเจนว่าเป็นการเสื่อมสภาพ เนื่องจากการใช้งานตามปกติ หรือสูญหายไปตามธรรมชาติ ให้หัวหน้าส่วนราชการพิจารณาสั่งการให้ดำเนินการจำหน่ายต่อไปได้โดยไม่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบหาข้อเท็จจริง 
                     1.4 กรณีที่เห็นได้ชัดเจนว่ามีพัสดุชำรุด เสื่อมสภาพเนื่องมาจากการใช้งานตามปกติ หรือสูญไปตามธรรมชาติหรือไม่จำเป็นต้องใช้ในราชการต่อไป หัวหน้าส่วนราชการพิจารณาสั่งการให้ดำเนินการจำหน่ายต่อไป
                     1.5 แต่งตั้งกรรมการสอบหาข้อเท็จจริง (ตามระเบียบฯ ข้อ 156)
                     1.6 พิจารณารายงานผลการสอบหาข้อเท็จจริง จากกรรมการฯ - กรณีไม่ต้องหาตัวผู้รับผิดทางแพ่ง สั่งการให้เจ้าหน้าที่พัสดุ ตรวจสอบสภาพพัสดุและเสนอวิธีการจำหน่าย แล้วพิจารณาอนุมัติให้จำหน่าย แจ้งให้กระทรวงการคลังและสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาคทราบต่อไป  กรณีต้องหาตัวผู้รับผิดทางแพ่ง ให้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนหาผู้รับผิดทางแพ่ง 
              2. หน้าที่ของเจ้าหน้าที่พัสดุ
                        2.1 จัดเตรียมรายการทะเบียนครุภัณฑ์ของหน่วยงาน และเอกสารที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วนเพื่อการตรวจสอบของคณะกรรมการตรวจสอบพัสดุประจำปี
                       2.2 อำนวยความสะดวกให้กับคณะกรรมการตรวจสอบพัสดุประจำปี ในการตรวจสอบพัสดุ
                       2.3 เสนอความเห็นเกี่ยวกับวิธีการจำหน่ายพัสดุ ชำรุดเสื่อมสภาพ เพื่อให้หัวหน้าส่วนราชการพิจารณาสั่งการ 
                       2.4 เสนอแต่งตั้งคณะกรรมการจำหน่ายพัสดุ ชำรุดเสื่อมสภาพ ต่อหัวหน้าส่วนราชการ 
                       2.5 ลงจ่ายพัสดุฯ ตามที่ได้รับการอนุมัติให้จำหน่ายออกจากบัญชีหรือทะเบียน
                       2.6 รวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้อง กับการตรวจสอบพัสดุประจำปี  รายงานให้ กระทรวงการคลังและสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินทราบ   
             3. หน้าที่กรรมการตรวจสอบพัสดุ 
                        3.1 ตรวจการรับการจ่ายของพัสดุ ของงวดตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ปีก่อน ถึง 30 กันยายน ปีปัจจุบัน ว่าถูกต้องหรือไม่
                        3.2 ตรวจนับจำนวนวัสดุคงเหลือ ณ วันที่ 30 กันยายน เฉพาะวัสดุที่ยังไม่เบิกไปใช้ว่าคงเหลือตางตามบัญชีวัสดุหรือไม่ (วัสดุที่ยังไม่ได้นำไปใช้)
                        3.3 ตรวจนับจำนวนครุภัณฑ์ที่มีอยู่ทั้งในหน่วยงาน ณ วันที่ 30 กันยายน ว่ามีครุภัณฑ์คงเหลือและมีความถูกต้องตามทะเบียนครุภัณฑ์ที่ได้บันทึกไว้หรือไม่ และตรวจสภาพของครุภัณฑ์ที่มีอยู่ทั้งหมดในหน่วยงานว่ามีความชำรุด เสื่อมสภาพ หรือสูญไป เพราะเหตุใด หรือพัสดุใดไม่จำเป็นต้องใช้ในราชการ 
                        3.4 จัดทำรายงานผลการตรวจสอบพัสดุประจำปี ต่อผู้แต่งตั้ง ภายใน 30 วันทำการ โดยนับตั้งแต่วันเริ่มดำเนินการตรวจสอบพัสดุ
              4. หน้าที่ของคณะกรรมการสอบหาข้อเท็จจริง 
                        4.1 ตรวจสอบสภาพพัสดุ ที่ชำรุด เสื่อมสภาพ สูญไป หรือไม่จำเป็นต้องใช้ในราชการ ตามที่คณะกรรมการตรวจสอบพัสดุ เสนอหรือไม่ 
                        4.2 พิจารณาว่าพัสดุแต่ละรายการที่ชำรุด เสื่อมสภาพ หรือสูญไป นั้น เพราะสาเหตุใด และต้องมีผู้รับผิดทางแพ่งหรือไม่ โดยสอบถามจากบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการใช้พัสดุนั้น และจะต้องตรวจสอบหลักฐานที่เกี่ยวข้อง เช่น การซ่อมแซม บำรุงรักษาพัสดุนั้น



วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ออกกำลังกาย "หัวใจ" ด้วยการปั่นจักรยาน

                     
ออกกำลังกายให้หัวใจแข็งแรงกันดีกว่า




                การออกกำลังกายด้วยการปั่นจักรยานก็เหมือนการออกกำลังด้วยการเล่นกีฬาชนิดอื่น การปั่นจักรยาน ก็เป็นการออกกำลังกายวิธีหนึ่ง ถ้าจะว่ากันตามการจัดrankอันดับของการออกกำลังกายในแง่มุม และประโยชน์ต่างๆแล้ว จักรยานจัดอยู่ใน  3   อันดับต้นของการออกกำลังกายที่ให้ประโยชน์สูงสุด ซึ่งอีก 2  ประเภทนั้นคือการวิ่ง และการว่ายน้ำ


การปั่นจักรยาน
ขอบคุณรูปภาพประกอบจาก newzone.sso.go.th ,www.pattayafuncards.com

 ประโยชน์ของการออกกำลังกายด้วยวิธีขี่จักรยานหรืออีก 2 ประเภทที่เด่นๆ ก็คือ
 1. เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบหัวใจและไหลเวียนเลือด
2. เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบหายใจ ซึ่งทั้ง 2 ข้อนี้เป็นเหตุหลักของการส่งผลให้เกิดความอดทนหรือenduranceขึ้นแก่ร่างกาย และถ้าหากออกกำลังกายด้วยการเน้นเฉพาะ 2 ข้อนี้แล้วไซร้ ให้กลายเป็นการออกกำลังกายแต่เฉพาะในระดับaerobicอย่างเดียว ก็จะสามารถลดน้ำหนักได้เป็นอย่างดี โดยเป็นการเพิ่มกระบวนการในการเผาผลาญไขมัน ( อ่านเพิ่มเติมจากในหน้าหลัก เรื่องนานาสาระ ในหมวดของHRM บอกอะไรเราได้บ้าง ในนั้นได้อธิบายถึงกระบวนการเผาผลาญพลังงานไว้ครับ )
3. เพิ่มประสิทธิภาพของกล้ามเนื้อ ซึ่งจะได้ผลดีกับกล้ามเนื้อในส่วนล่างของร่างกาย จากการศึกษา พบว่าให้ผลในเรื่องการเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อทุกมัด แต่มัดที่ได้รับผลมากที่สุด จะเป็นกลุ่มของกล้ามเนื้อต้นขาในส่วนหน้าขา นอกจากนั้นจะมีผลกับกล้ามเนื้อก้นย้อย กล้ามเนื้อน่องส่วนบน และรวมทั้งกล้ามเนื้อมัดอื่นๆด้วย ( ผู้ที่ปั่นจักรยานอย่างถูกวิธี จะมีกล้ามเนื้อที่ใหญ่ก็เฉพาะต้นขาเท่านั้น แต่ส่วนน่องจะเรียว ,ไม่โป่งเหมือนสามล้อถีบนะครับ , กล้ามเนื้อก้นย้อย กล้ามเนื้อสะโพกจะแน่นกระชับขึ้น )
 4. เพิ่มประสิทธิภาพของระบบรักษาสมดุลย์ของร่างกาย นอกจากนั้นการขี่จักรยานยังเป็นการออกกำลังกายแบบแอโรบิคที่ช่วยระบบการหายใจ เพิ่มประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ในถุงลมปอดให้ ดีขึ้นและยังเพิ่มระดับของฮอร์โมนแอนดอร์ฟินอันจะช่วยลดความเครียดในร่างกายให้ ลดลงอย่างมีประสิทธิภาพ  การออกกำลังกายโดยการขี่จักรยานเสือภูเขา เป็นกิจกรรมที่เข้าถึงธรรมชาติที่ดี ได้รับ อากาศที่มีมลพิษน้อยลงซึ่งเป็นประโยชน์ต่อร่างกายแน่นอน การขี่จักรยานขึ้นลงเขาถือ เป็นการออกกำลังแบบแอโรบิคที่หนัก เพราะต้องใช้พลังงานมาก ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อ หัวใจในคนที่หัวใจแข็งแรงอยู่แล้วจึงเหมาะที่จะปั่นจักรยานเสือภูเขาจะทำให้หัวใจ แข็งแรงมากขึ้นเป็นทวีคูณ คล้ายๆ กับการเล่นเทนนิส ฟุตบอล สมรรถภาพระบบหัวใจ และปอดจะดีขึ้นอย่างเด่นชัดหากว่าคุณขี่จักรยานเสือภูเขาเป็นประจำ การขี่จักรยาน เสือภูเขา ปีนเขา ไตรกรีฑา เป็นการออกกำลังกายแบบแอโรบิคหนัก ผู้ที่สามารถเล่น กีฬาประเภทนี้ได้ จำเป็นต้องมีสมรรถนะหัวใจและปอดดีเยี่ยมถึงจะมีความปลอดภัย สำหรับการขี่จักรยานแล้วยังได้ประโยชน์โดยตรงต่อกล้ามเนื้อให้แข็งแรง เพราะได้ ยืดเส้นยืดสาย โดยเฉพาะกล้ามเนื้อบริเวณเอว สะโพก ทำให้ป้องกันปัญหาปวดกล้าม เนื้อขาได้ดี

อาการเครื่องซักผ้าส่งเสียงดังมาก

ตื่นนอนตอนเช้าก็ไปซักผ้าสักหน่อย  ซักด้วยเครื่องซักผ้ารุ่นเก่ามากยี่ห้อเนชั่นแนล  ใช้งานมาตั้งแต่เรียนอยู่ประถมศึกษา  จนถึงวันนี้เกือบ 17 ปี  ทนทานมากเปลี่ยนที่ระบายน้ำมานับไม่ถ้วน  แต่ตอนนี้เครื่องซักผ้าเปลี่ยนไป  ถังซักไม่มีปัญหาแต่ถังปั่นกับเกิดอาการส่งเสียงดังมากและมากกว่าปกติ


การทำงานของเครื่องซักผ้า
ขอบคุณรูปภาพประกอบจาก www.rmutphysics.com 
   สาเหตุน่าจะมาจาก
1. เครื่องใช้งานมานาน  อาจจะหมดสภาพการใช้งาน
2. ลูกยางเปื่อย
3. ลูกปืนแตก
4. มีเศษวัสดุเข้าไปติดแกนกลางในการหมุน
   
   วิธีแก้ไขเครื่องซักผ้าส่งเสียงดัง
1. เปิดดูเครื่องทางด้านใน  
2. ลองหมุนถังแกนปั่นดูว่าเสียงดังตรงไหน
3. เช็คอุปกรณืรอบข้างว่า  ชำรุดหรือเปล่า
4. ใช้สเปย์อเนกประสงค์ฉีดไปยังระบบเฟื่องทางด้านล่าง
5. ส่งซ่อมที่ร้าน พร้อมกับเช็คราคาว่าคุ้มกับการซ่อมหรือซื้อใหม่

วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ติดแอร์กับช่างไม่ชำนาญการ เกิด ! ปัญหา คอมเพรสเซอร์ไม่ทำงาน

                 วันนี้ย้ายบ้านใหม่ก็เลยถอดแอร์ออกมา  เพื่อนำไปติดใหม่ไปเจอเพื่อนเก่าเป็นช่างแอร์ทำงานอยู่ที่ลำนารายณ์  ก็เลยตัดสินใจให้เพื่อนมาติดให้เนื่องจากบ้านเราไกลตลาดมากและเป็นชุมชนไม่ใหญ่มากน่ะ  นัดเพื่อนมาทำให้วันหยุด  เพื่อนก็ทำการเจาะกำแพงเพื่อติดตั้งแอร์บ้าน ยี่ห้อมิตซูบิชิ 12,000 BTU  เพื่อนติดเสร็จก็ได้จ่ายค่าแรงไป 2,000 บาท ใช้ไปได้ประมาณ  1 เดือน ไฟฟ้าที่บ้านเกิดตกและดับอยู่บ่อยครั้ง  ก็เลยตัดสินใจโทรไปที่ร้านที่ซื้อแอร์มาว่าแอร์ไม่ติดให้มาซ่อมให้หน่อย  แต่เนื่องจากระยะทางไกลทางร้านเลยบอกให้นำบิลไปที่ร้านก็ได้  และถามไปยังช่างทางร้านว่าแอร์รุ่นนี้ไฟฟ้าตกจะเป้นอย่างไร  ช่างตอบมาว่าแอรืรุ่นนี้เสียง่ายเนื่องจากการใช้สายไฟที่เดินเข้ากับตัวเครื่องมีสองเส้นที่เดินไปต่อกับเบรกเกอร์  ไม่รู้จะแก้ปัญหาอย่างไร  มีพี่ข้างบ้านที่ติดแอร์เหมือนกันแนะนำมาว่าให้ติดต่อช่างที่ลำนารยณ์แต่คนล่ะที่กับที่มาติดให้  ให้ช่างมาดูแอร์ช่างก็คิดค่าเดินทาง(ค่านำมัน) เพิ่มเลยต้องจ่ายให้เพื่อต้องการใช้แอร์  และช่างหนูบอกว่า คอมเพรสเซอร์เสีย  ตัวประมาณ 700  บาทบวกค่าน้ำมัน 200 บาท  วันนั้นก็เลยต้องจ่ายค่าอุปกรณ์และค่าช่างไปทั้งหมด 900 บาท รวมทั้งติดตั้งใหม่ 2,900 บาทไปแล้ว  และใช้ได้ประมาณ 2 เดือน เกิดไฟฟ้าดับอีกเนื่องจากเป็นหน้าฝนเพื่อดี  ต้องโทรเรียนช่างหนูมาเช็คให้อีกและเตรียมเจ้าตัวคอมเพรสเซอร์มาด้วย  และเช็คปรากฏว่าเป็นเหมือนเดิม คอมเพรสเซอร์เสีย ตอนนั้นคิดในใจว่า  เราเห็นกับการติดตั้งที่มีราคาถูกแต่ต้องซ่อมหลายครั้ง ไม่คุ้มค่าเลย  บอกให้ช่างหนูเช็คระบบแอร์ให้ถี่ถ้วนทุกตำแหน่ง  ผลปรากกว่าสายไฟฟ้าที่เดินเข้าไปกับเบรกเกอร์มีการลอกตา  คือ เพื่อนที่ติดตั้งแอร์ให้เดินสายไฟฟ้าเพียงเส้นเดียวและพอไฟฟ้าเกิดหรือตกก็ทำให้ไปกระชากไฟที่จ่ายให้แอร์ทำงาน ช่างหนูบอกว่าสจะเดินสายไฟฟ้าให้ใหม่จะได้ไม่ต้องเสียเงินเปลี่ยนคอมเพรสเซอร์  สรุปว่าแอร์ตัวเดียวซื้อมา 24,000 บาท  ค่าติดตั้งและค่าซ่อม  4,000 บาท  ไม่คุ้มกันกับคำว่าเพื่อนเลย


คอมเพรสเซอร์ ในแต่ละยี่ห้อ
วิธีเลือกช่างมาติดแอร์บ้านเรา
  ให้ดูจากผลงานที่ติดตั้งมาก่อนว่า  เป็นคนที่ทำงานเรียบร้อย  หรือ ทำแล้วต้องแก้ไขหลายครั้งไม่  ประสบการณ์การทำงาน

การหาสาเหตุของการเสีย

สาเหตุที่อาจเป็นไปได้ – สวิทซ์ของเครื่องปรับอากาศยังไม่ได้เปิดหรือเปิดไม่ครบถ้วย (บางตัวอยู่ในตำแหน่ง off) ไม่มีฟิวส์ หรือฟิวส์ขาด โอเวอร์โหลดตัดวงจร (Trips) ระบบควบคุมการทำงานของเครื่อง เช่นรีโมทคอนโทรลมีปัญหาขัดข้อง ปรับตั้งเทอร์โมสตัทที่อุณหภูมิสูงเกินไป ทำให้เทอร์โมสตัทตัด ติดตั้งเทอร์โมสตัทหรือชุดควบคุมอุณหภูมิในตำแหน่งที่โดนลมเย็นจากเครื่องเป่าลมเย็นโดยตรง วงจรไฟฟ้าไม่ถูกต้องหรือเกิดการลัดวงจร


 วิธีการแก้ไข – ตรวจเช็คระบบไฟฟ้าเพื่อหาสาเหตุของการตัดวงจรแล้วแก้ไขให้เรียบร้อย
ขอบคุณภาพประกอบจาก ktp.tarad.com

วันอาทิตย์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ความรู้เกี่ยวกับเครื่อง เซิฟเวอร์ ของโรงเรียน



      เสียงโทรศัพท์ดังแต่เช้าเนื่องจากระบบอินเตอร์เน็ตของโรงเรียนใช้งานไม่ได้ เพราะครูที่มาอยู่เวรต้องการติดใช้งานอินเตอร์เน็ต  เครื่องจ่ายไอพีที่โรงเรียนเป็นเครื่อง pc ธรรมดา  ไม่ใช้เครื่อง เซิฟเวอร์  เนื่องจากเมื่อประมาณปลายปีที่แล้วได้ทำการลงโปรแกรมจัดการเครื่องเซิฟเวอร์  และไดว์ซีดีไม่ยอมอ่านก็เลยทำการเปลี่ยนและได้เปลี่ยนถ่านไบออส  ปรากฏว่า เครื่องไม่ติดเลย เปลี่ยนเพาเวอร์ซัพพรายแล้วยังไม่ติดเนื่องจากเครื่องนี้ใช้งานมา 10 ปีแล้ว  ได้ตั้งแต่เป็นโรงเรียนในฝันใหม่  และเวลาก็ผ่านมายาวนานเครื่องก็เลยใช้งานไม่ได้  เราเลยแก้ไขปัญหาโดยนำเครื่อง pc มาติดตั้งและจ่ายเน็ตแทน  ตอนแรกก็ใช้งานได้ดี  แต่พอพักหลักเครื่องเริ่มไม่สั่งการต้องลบไอพีที่การืดแลนอยู่บ่อย  และเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ได้ปิดการทำงานแม้แต่วันเดียว ก็เลยเป็นปัญหาว่าเราควรจะต้องทำโครงการเพื่อเสนอซื้อครุภัณฑ์ใหม่ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลกับผู้เรียน  และที่สำคัญที่สุด  ก็คือ สเปคเครื่อง pc มันแต่ต่างจากเครื่อง เซิฟเวอร์โดยสิ้นเชิง  เครื่องเซิผเวอร์  หน้าที่ก็คือ แจกจ่ายไอพี  และทำหน้าเก็บข้อมูลการใช้งาน  อุปกรณ์ภายในเครื่องมีความเร็วและประสิทธิภาพมากกว่าเครื่องpc


ครื่องที่เรียกว่า server นั่น จะมี service ให้บริการ แก่ เครื่องลูกข่าย เช่น ทำหน้าที่เกี่ยวกับ E-mail ก็จะเรียกว่า Mail-server ทำหน้าที่เกี่ยวกับ DHCP แยก IP ให้แก่เครื่องลูกข่าย ก็จะเรียกกันว่า DHCP server ทำหน้าที่เกี่ยวกับการ ดู ไอพี หรือ Domain name ก็เรียกกันว่า DNS server


วันเสาร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เน็ตบ้านเพื่อนใช้งานไม่ได้

                     บ้านพักของเราอยู่ติดกัน เราเลยมาหารค่าอินเตอร์เน็ต แล้วนำสายเน็ตมาติดตั้ง โดย ทีบอร์ดแบรน  3B  โทรคมนาคม  และจ่ายเดือนล่ะประมาณเกือบ พันกว่าบาท  แต่หลายวันที่ผ่านมาบ้านเพื่อนเกิดปัญหาสายสัญญาณไม่ยอมส่งไป  บ้านเพื่อนอยู่ไกลกันประมาณ 300 เมตร  และได้ติดสวิซ์ฮับไว้ที่ปลายทางอีกหนึ่งตัว  แต่เราเตอร์ของเครื่องมีสัญญาณวายเล็ตอยู่แต่เพื่อนก็ไม่สามารถรับสัญญาณได้  บ้านเพื่อนจะใช้สายเน็ตในการเชื่อมต่อเราช่วยกันเดินสายเน็ตจากบ้านฉันไปถึงบ้านเพื่อนโดยการเดินแบบสายไฟฟ้า  ทางด้านบนไม่เดินสายใต้ดินเนื่องจากการดูแลรักษายุ่งยากว่า   แต่ใช้ไปไม่นานก็เกิดปัญหาสามารถใช้เน็ตได้  เราเลยช่วยกันแก่ไขปัญหาโดยการเปลี่ยนสวิซ์ฮับตัวใหม่  แต่ปรากฏว่าบ้านเราเล่นได้แต่บ้านเพื่อนกับใช้งานไม่ได่้  มีอีกวิธีหนึ่งคือตรวจดูสายที่เดินไปบ้านเพื่อนได้รับความเสียหายหรือเปล่า  สายแลนที่มีประสิทธิภาพสูงก็จะมีราคาที่แพงมาก
ขอบคุณภาพประกอบจาก  www.it-guides.com  , liblog.dpu.ac.th


สายที่ใช้สำหรับการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์ที่เรียกว่า Switch หรือ HUB (แต่เราสามารถเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ได้ด้วยเช่นกัน) สายแลนมีอยู่หลายประเภท แต่ละประเภทจะมีความสามารถในการรับ-ส่งสัญญาณแตกต่างกันออกไป สำหรับปัจจุบันสายแลนที่นิยมใช้กันมากคือ UTP (UNSHIELD TWISTED PAIR) คือ สายตีเกลียวที่ไม่มีตัวป้องกัน ส่วนหัวที่ใช้ในการเชื่อมต่อสายแลนเรียกว่า RJ45 ประเภทของสาย UTP UTP CAT5 คือ สายแลน ที่เป็นสายทองแดงที่มีความเร็วที่ต่ำ ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 100 Mbps (ไม่เป็นที่นิยมใช้กันแล้ว) UTP CAT5e คือ สายแลนที่เป็นสายทองแดงที่มีความเร็วที่ต่ำ ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 1 Gpbs UTP CAT6 คือ สายแลนที่เป็นสายทองแดงที่มีความเร็วที่ต่ำ ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 10 Gpbs BANWIDTH อยู่ที่ 250MHz UTP CAT7 คือ สายแลนที่เป็นสายทองแดงที่มีความเร็วที่ต่ำ ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 10 Gpbs BANWIDTH อยู่ที่ 600MHz


สายแลน


16  มิถุนายน 2555

วันศุกร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ไฟฟ้าดับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกเสีย คอมพิวเตอร์ และ เซิฟเวอร์ , สวิซ์ฮับ

วันนี้เวลา  14.35  น.  ไฟฟ้าดับที่โรงเรียน  ทุกคนไม่ทันตั้งตัวในการปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยเฉพาะ  เครื่องคอมพิวเตอร์  และ  เซิฟเวอร์   , สวิซ์ฮับ  พังกันเป็นแถว ๆ ไปตามธรรมชาติของอุปกรณ์  ไฟฟ้าดับไปประมาณ 2 นาที  ทำท่าจะติด อีก 1 วินาที  ที่นี้ดับยาวประมาร 1 ชั่วโมง  เครื่องสำรองไฟพากันร้องดังลั่น
สาเหตูที่ทำให้เกิดไฟฟ้าดับ  มีหลายสาเหตุ
ขอบคุณภาพประกอบจาก  www.leonics.co.th/ , siamsafety.com


ไฟฟ้าดับ คือ สภาวะที่กระแสไฟฟ้าหยุดไหล สาเหตุ เกิดจากความต้องการกระแสไฟฟ้าจากสายส่งการไฟฟ้าฯ ที่มากเกินไป, เกิดไฟฟ้าลัดวงจรในสายส่ง, พายุฟ้าคะนอง, แผ่นดินไหว และปัญหาที่เกิดกับสายส่งการไฟฟ้าฯ เช่น เสาไฟฟ้าล้ม หรือหม้อแปลงระเบิด ฯลฯ ซึ่งส่งผลให้ไม่สามารถจ่ายไฟจากการไฟฟ้าให้ได้ ผลกระทบ การทำงานของ RAM หยุดชะงักทันที ทำให้ข้อมูลปัจจุบันสูญหายได้ รวมถึงการบันทึกข้อมูลของตารางการจัดการแฟ้ม (FAT) สูญหายได้ มีผลให้ข้อมูลที่เก็บไว้ทั้งหมดสูญหายได้ และอุปกรณ์พังได้ 


ไฟฟ้าเกิน คือ สภาวะที่มีแรงดันไฟฟ้าไหลมามากเกินในช่วงเวลาสั้นๆ (1/120 วินาที) สาเหตุ เกิดจากการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีมอเตอร์กินไฟมาก เช่น เครื่องปรับอากาศ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านอื่นๆ ที่ลักษณะใกล้เคียงกัน ฯลฯ เนื่องจากอุปกรณ์เหล่านี้เมื่อหยุดทำงาน แรงดันไฟฟ้าส่วนหนึ่งที่เหลืออยู่ในมอเตอร์ จะไหลกลับเข้าไปในสายส่งการไฟฟ้าฯ ทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าสูงเกิน ผลกระทบ ทำให้ชิ้นส่วนอุปกรณ์ภายในเสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติหรือเสียหายได้ รวมถึงหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์สูญหายและคลาดเคลื่อน, Power supply เสียหาย และการทำงานของระบบสื่อสารผิดพลาด


 ไฟฟ้าตก คือ สภาวะที่แรงดันไฟฟ้าลดต่ำลงจากปกติในช่วงเวลาสั้นๆ นับว่าเป็นปัญหาทางไฟฟ้าที่พบบ่อยที่สุด สาเหตุ เกิดจากการเปิดสวิตช์อุปกรณ์บางชนิดที่ต้องการใช้กระแสไฟฟ้ามาก เช่น มอเตอร์, ปั๊มน้ำ, เครื่องปรับอากาศ, ลิฟต์ และเครื่องมือเครื่องจักร เป็นต้น อุปกรณ์เหล่านี้ต้องการกระแสไฟฟ้ามากในการติดเครื่องเมื่อเทียบกับการทำงานในภาวะปกติ ส่งผลให้แรงดันไฟฟ้าในสายส่งการไฟฟ้าฯ ลดต่ำลง ผลกระทบ ทำให้เกิดการหยุดชะงักของระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์บางส่วนชำรุดเสียหายได้ จะส่งผลให้ข้อมูลสูญหาย นอกจากนี้ยังลดประสิทธิภาพการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้า และอายุการใช้งานก็ลดต่ำลงด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งมอเตอร์ของอุปกรณ์ไฟฟ้า




 ไฟฟ้ากระชาก คือ สภาวะที่แรงดันไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้นอย่างกะทันหัน โดยสามารถเข้าไปยังอุปกรณ์ไฟฟ้าได้ทั้งจากสายส่งการไฟฟ้าฯ เครือข่ายสื่อสาร และสายโทรศัพท์ สาเหตุ เกิดจากฟ้าผ่าในบริเวณใกล้เคียง หรืออาจเกิดจากสายส่งการไฟฟ้าฯ ที่หยุดการทำงานไปและกลับมาทำงานใหม่อย่างกะทันหัน ผลกระทบ สร้างความเสียหายหรือทำลายชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ของอุปกรณ์ไฟฟ้าได้ รวมถึงข้อมูลเกิดการสูญหาย


ละแล้วไฟฟ้าก็มาเราก็ได้เปิดระบบอินเตอร์อีกครั้งและเช็คดูอุปกรณ์ทุกชิ้นว่าเกิดความเสียมากน้อยแค่ไหน  ปรากฏว่าอุปกรณ์ทุกอย่างกลับมาใช้งานได้  และปัญหาที่ใหญ่ที่สุดตอนนี้  คือ  ไม่ต้องการให้เกิดไฟฟ้าขัดข้องไม่ว่าจะสาเหตุใดๆเลย เนื่องจากงบประมาณในการซื้ออุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งระบบมีราคาค่าใช้จ่ายที่สูงมากก็เลยต้องรีบไปปรึกษาผู้อำนวยการโรงเรียนว่าต้องการอุปกรณ์เสริม เช่น เครื่องสำรองไฟเพิ่มขึ้นเก็บไฟฟ้าได้นานขึ้นและช่วยเซฟเงินในกระเป๋าโรงเรียนมากขึ้น


15  มิถุนายน 2555





วันพุธที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2555

บูชาครู "ไหว้ครู 14 มิถุนายน 55"

  วันที่ 14 มิถุนายน 2555 เป็นวันไหว้ครู  เพื่อให้นักเรียนได้เคารพบูชา และขออโหสิกรรมแก่ครูที่เคยได้ให้ความรู้ แล้วเป็นการขอขมาครู  ที่เราได้ล่วงเกินท่าน  ไม่ว่าจะเป็น  กาย  วาจา  ใจ  ที่เราคิดไม่ดีแก่ครูอาจารย์   มีการแสดงของนักเรียน  มีการต้อนรับน้องหรือรับน้อง วัยละอ่อน  มีกิจกรรมให้ทำโดยไม่มีการทำร้ายน้องหรือทำโทษน้องๆ


   บทกลอนสำหรับครู
ขอบคุณภาพประกอบจาก www.orchidtropical.com  , www.baanmaha.com


เข้าใจครู ที่ทั้งพาย ทั้งท้ายงัด
 ลูกศิษย์พลัดตกเรือ...ดึงเสื้อขึ้น 
จะถึงฝั่งยังตะกาย....ไม่ยอมยืน 
น้ำตื้นตื้น..ยังจะคึก...ว่าลึกจัง 
ครูลำบาก แค่ไหน...ไร้สำนึก 
ไม่ยอมฝึก รักดี..มีความหวัง 
มือไม่พาย เอาเท้าทาน 
ต้านพลัง ครูก็ยัง....ให้อภัย....เข้าใจยัง


ดอกกล้วยไม้   ประจำวันครู





เครื่องบูชาครู
  1.ดอกเข็ม
  2. หญ้าแพรก
  3. ดอกมะเขือ
  4. ธูป
  5. เทียน
เรามารู้จักความหมายของเครื่องบูชาครูกันดีกว่า
        ดอกเข็ม  หมายถึง  ความฉลาดหลักแหลม  เปรียบเสมือนเข็มที่แหลมคม  
         หญ้าแพรก  หมายถึง เป็นสัญลักษณ์ของความอดทน  เพราะหญ้าแพรกเป็นหญ้าที่มีความแข็งแรง  สามารถอยู่ได้ตามอากาศที่ต่างกันได้  เช่น ฤดูฝน หรือ ฤดูหนาว  หญ้าก็สามารถยงอยู่ได้ไม่ว่าน้ำจะท่วม หรือ ฝนจะแร้ง  หญ้าก็สามารถเจริญเติบโตได้
        ดอกมะเขือ  หมายถึง  ความอ่อนน้อมถ้อมตน  เหมือนต้นมะเขือ  โดยธรรมชาติต้นมะเขือเวลาออกดอกและให้ผล  ดอกจะโน้นลงด้านล่าง  เหมือนการอ่อนน้อมถ้อนตนของผู้ที่ได้ศึกษาเล่าเรียน
       ธูป  หมายถึง  การสักการะบูชา  ของชาวพุทธทั้งหลาย
       เทียน หมายถึง  แสงสว่างที่ใช้ส่องนำทางไปยังจุดหมายปลายทาง


ดอกเข็ม






หญ้าแพรก



ดอกมะเขือ



ธูป



เทียน










ขนาดล้อ และยางจักรยาน

มารู้จักขนาดของยางรถจักรยานกันดีกว่า  ก่อนที่เราจะซื่อยางมาเปลี่ยนให้รถจักรยานคู้ใจของเรา  เราจะต้องรู้ขนาดล้อของรถจักรยานของเราเสียก่อน


เส้นผ่าศูนย์กลาง                 ขนาดของล้อ                                 ชนิดของจักรยานที่ใช้ล้อขนาด
 ของวงล้อ (ISO)                 และยางที่คนทั่วไป นิยมเรียกกัน
 หน่วยเป็น มิลลิเมตร    
203                               12½ x                                        จักรยานเด็ก
305                                16 x 1.75 ถึง 16 x 2.125            จักรยาน recumbent บางรุ่น,
                                                                                          จักรยานสำหรับเด็ก
317                                 16 x 1¾                                   จักรยานสำหรับเด็กยี่ห้อ
                                                                                        Schwinn
340                                 400A                                        จักรยานเด็ก ที่ผลิตมาจากทวีป
                                                                                         ยุโรป
349                                 16 x 1⅜                                   จักรยานเมาเทนไบค์ รุ่นแรกๆ
355                               18 x 1.5 ถึง 18 x 2.125              ใช้สำหรับจักรยานที่ผลิต จาก
                                                                                       บริษัท Burley
369                                17 x 1¼                                   จักรยานเมาเทนไบค์
                                                                                     ยี่ห้อ Alex
390                                 450A                                     จักรยานสำหรับเด็ก ที่ผลิตมา
                                                                                     จากทวีปยุโรป
406                                  20 x 1.5                                 จักรยาน BMX รุ่นทั่วๆไป
419                                  20 x 1¾                                  จักรยานสำหรับเด็ก
                                                                                       ยี่ห้อ Schwinn
440                                  500A                                     จักรยานเด็ก ที่ผลิตมาจากทวีป
                                                                                       ยุโรป และ จักรยานพับ
451                                20 x 1⅛, 20 x 1¼, 20 x 1⅜      จักรยาน recumbent บางรุ่น
                                                                                      และ จักรยาน BMX บางรุ่น
457                              22 x 1.75 ถึง 22 x 2.125          จักรยานสำหรับเด็ก
490                                550A                                     จักรยานเสือหมอบ สำหรับ
                                                                                     เด็ก ที่ผลิตมาจากประเทศ
                                                                                     แถบทวีปยุโรป
507                           24 x 1.5 ถึง 24 x 2.5                   จักรยานเมาเทนไบค์ สำหรับ
                                                                                   เด็ก และ cruisers bike
520                            24 x 1, 24 x 1⅛                        ใช้สำหรับล้อหน้าของ
                                                                                  จักรยาน ยี่ห้อ Terry บางรุ่น
540                          24 x 1⅛, 24 x 1⅜                     รถเข็นคนพิการ (wheelchairs)
547                        24 x 1⅛, 24 x 1⅜                       จักรยานสำหรับเด็กยี่ห้อ
                                                                                    Schwinn
559                       26 x 1.0 to 26 x 2.5                       จักรยานเมาเทนไบค์ รุ่นใหม่ๆ
571                       26 x 1, 26 x 1¾, 650C                 จักรยาน cruisers ยี่ห้อ
                                                                                    Schwinn รุ่นเก่าๆ, สำหรับ              
                                                                                   650C จะใช้สำหรับจักรยาน              
                                                                                 เสือหมอบรุ่นใหม่ๆ ที่
                                                                                ปั่นจักรยานรูปร่างเล็กๆ
584                    26 x 1½, 650B                              จักรยานเมาเทนไบค์ ยี่ห้อ
                                                                               Raleigh และ Schwinn บาง
                                                                               รุ่น, จักรยานทัวริ่งไบค์ ที่
                                                                              ผลิตในประเทศ ฝรั่งเศส
587                     700D                                        จักรยานยี่ห้อ GT บางรุ่น
590                      26 x 1⅜ (EA3), 650A                จักรยาน ที่ผลิตขึ้นมาเป็น
                                                                              พิเศษสำหรับนักปั่นตัวเล็กๆ                      
                                                                               ผลิตจากประเทศ อิตาลี
597                      26 x 1¼, 26 x 1⅜ (S-6)             จักรยานจากประเทศ
                                                                               อังกฤษรุ่น เก่าๆ, จักรยาน
                                                                             ยี่ห้อ Schwinn ที่ผลิต
                                                                             ระหว่างปี 1960 ถึง 1970
599                      26 x 1.25, 26 x 1.375               จักรยานรุ่นเก่าๆ ที่ผลิตจาก
                                                                             ประเทศ อเมริกา
622                      700C, 29Inch                           จักรยานเสือหมอบรุ่น
                                                                             ปัจจุบัน, 29inch สำหรับ
                                                                           จักรยานเสือภูเขาขนาด 29"
630                         27 x                                  จักรยานเสือหมอบรุ่นเก่าๆ
635                     28 x 1½, 700B                       ไซส์มาตราฐาน สำหรับ
                                                                           จักรยาน ทั่วไป ที่ใช้กันใน
                                                                            ประเทศแถบทวีปเอเชีย                    
                                                                            และประเทศเนเธอร์แลนด์


ยางรถจักรยาน
ขอบคุณภาพประกอบจาก 3.bp.blogspot.com