วันนี้ย้ายบ้านใหม่ก็เลยถอดแอร์ออกมา เพื่อนำไปติดใหม่ไปเจอเพื่อนเก่าเป็นช่างแอร์ทำงานอยู่ที่ลำนารายณ์ ก็เลยตัดสินใจให้เพื่อนมาติดให้เนื่องจากบ้านเราไกลตลาดมากและเป็นชุมชนไม่ใหญ่มากน่ะ นัดเพื่อนมาทำให้วันหยุด เพื่อนก็ทำการเจาะกำแพงเพื่อติดตั้งแอร์บ้าน ยี่ห้อมิตซูบิชิ 12,000 BTU เพื่อนติดเสร็จก็ได้จ่ายค่าแรงไป 2,000 บาท ใช้ไปได้ประมาณ 1 เดือน ไฟฟ้าที่บ้านเกิดตกและดับอยู่บ่อยครั้ง ก็เลยตัดสินใจโทรไปที่ร้านที่ซื้อแอร์มาว่าแอร์ไม่ติดให้มาซ่อมให้หน่อย แต่เนื่องจากระยะทางไกลทางร้านเลยบอกให้นำบิลไปที่ร้านก็ได้ และถามไปยังช่างทางร้านว่าแอร์รุ่นนี้ไฟฟ้าตกจะเป้นอย่างไร ช่างตอบมาว่าแอรืรุ่นนี้เสียง่ายเนื่องจากการใช้สายไฟที่เดินเข้ากับตัวเครื่องมีสองเส้นที่เดินไปต่อกับเบรกเกอร์ ไม่รู้จะแก้ปัญหาอย่างไร มีพี่ข้างบ้านที่ติดแอร์เหมือนกันแนะนำมาว่าให้ติดต่อช่างที่ลำนารยณ์แต่คนล่ะที่กับที่มาติดให้ ให้ช่างมาดูแอร์ช่างก็คิดค่าเดินทาง(ค่านำมัน) เพิ่มเลยต้องจ่ายให้เพื่อต้องการใช้แอร์ และช่างหนูบอกว่า คอมเพรสเซอร์เสีย ตัวประมาณ 700 บาทบวกค่าน้ำมัน 200 บาท วันนั้นก็เลยต้องจ่ายค่าอุปกรณ์และค่าช่างไปทั้งหมด 900 บาท รวมทั้งติดตั้งใหม่ 2,900 บาทไปแล้ว และใช้ได้ประมาณ 2 เดือน เกิดไฟฟ้าดับอีกเนื่องจากเป็นหน้าฝนเพื่อดี ต้องโทรเรียนช่างหนูมาเช็คให้อีกและเตรียมเจ้าตัวคอมเพรสเซอร์มาด้วย และเช็คปรากฏว่าเป็นเหมือนเดิม คอมเพรสเซอร์เสีย ตอนนั้นคิดในใจว่า เราเห็นกับการติดตั้งที่มีราคาถูกแต่ต้องซ่อมหลายครั้ง ไม่คุ้มค่าเลย บอกให้ช่างหนูเช็คระบบแอร์ให้ถี่ถ้วนทุกตำแหน่ง ผลปรากกว่าสายไฟฟ้าที่เดินเข้าไปกับเบรกเกอร์มีการลอกตา คือ เพื่อนที่ติดตั้งแอร์ให้เดินสายไฟฟ้าเพียงเส้นเดียวและพอไฟฟ้าเกิดหรือตกก็ทำให้ไปกระชากไฟที่จ่ายให้แอร์ทำงาน ช่างหนูบอกว่าสจะเดินสายไฟฟ้าให้ใหม่จะได้ไม่ต้องเสียเงินเปลี่ยนคอมเพรสเซอร์ สรุปว่าแอร์ตัวเดียวซื้อมา 24,000 บาท ค่าติดตั้งและค่าซ่อม 4,000 บาท ไม่คุ้มกันกับคำว่าเพื่อนเลย
|
คอมเพรสเซอร์ ในแต่ละยี่ห้อ |
วิธีเลือกช่างมาติดแอร์บ้านเรา
ให้ดูจากผลงานที่ติดตั้งมาก่อนว่า เป็นคนที่ทำงานเรียบร้อย หรือ ทำแล้วต้องแก้ไขหลายครั้งไม่ ประสบการณ์การทำงาน
การหาสาเหตุของการเสีย
สาเหตุที่อาจเป็นไปได้ – สวิทซ์ของเครื่องปรับอากาศยังไม่ได้เปิดหรือเปิดไม่ครบถ้วย (บางตัวอยู่ในตำแหน่ง off) ไม่มีฟิวส์ หรือฟิวส์ขาด โอเวอร์โหลดตัดวงจร (Trips) ระบบควบคุมการทำงานของเครื่อง เช่นรีโมทคอนโทรลมีปัญหาขัดข้อง ปรับตั้งเทอร์โมสตัทที่อุณหภูมิสูงเกินไป ทำให้เทอร์โมสตัทตัด ติดตั้งเทอร์โมสตัทหรือชุดควบคุมอุณหภูมิในตำแหน่งที่โดนลมเย็นจากเครื่องเป่าลมเย็นโดยตรง วงจรไฟฟ้าไม่ถูกต้องหรือเกิดการลัดวงจร
วิธีการแก้ไข – ตรวจเช็คระบบไฟฟ้าเพื่อหาสาเหตุของการตัดวงจรแล้วแก้ไขให้เรียบร้อย
ขอบคุณภาพประกอบจาก ktp.tarad.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น