โซ่เป็นตัวถ่ายทอดแรงจากบันไดไปยังล้อหลัง โดยรับจากจานหน้าส่งต่อไปยังเฟืองหลัง
จุดอ่อนของโซ่ก็คือ ข้อโซ่ ข้อโซ่อาจจะได้รับการออกแบบมาอย่างดีสำหรับการรับแรงกระทำใน
แนวยาวซึ่งจะมาในรูปของการดึง แต่ไม่ได้ถูกออกแบบมาดีนักสำหรับการรับแรงบิด ทั้งการบิด
เกลียวและการบิดด้านข้าง เมื่อโซ่ได้รับแรงบิด ข้อโซ่จะเป็นบริเวณที่ต้องเผชิญกับความเครียด
และแรงเค้น เมื่อโลหะที่เป็นแผ่นประกับ(outer plate)ตรงบริเวณข้อโซ่ได้สะสมความเครียด
และแรงเค้นจนถึงจุดที่เกิดอาการล้าตัวแล้ว แกนข้อโซ่ก็จะถูกบิดให้หลุดออกมา ก็จะเกิดอาการ
ที่เรียกว่า "โซ่ขาด"
การบิดของโซ่จะเกิดเกือบตลอดเวลาของการใช้งาน โดยการบิดตัวด้านข้างจะเกิดขึ้นใน
ขณะที่ใช้อัตราทดที่มีแนวโซ่เบี่ยงเบน ยิ่งเบี่ยงเบนมากก็จะบิดตัวมาก (การบิดด้านข้างของโซ่
จะทำให้มีแรงต่อฟันของจานหน้าและเฟืองหลังที่เกี่ยวข้องด้วย) ส่วนการบิดเกลียวจะเกิดขึ้นใน
ขณะที่มีการเปลี่ยนตำแหน่งจานหน้า แรงบิดเกลียวที่กระทำต่อโซ่ในขณะเปลี่ยนตำแหน่งจาน
หน้านี้จะเพิ่มขึ้นตามแรงที่เรากดบันได
การใช้ตำแหน่งเกียร์ที่เหมาะสม
โดยพิจารณาจากแนวโซ่
การเลือกใช้ตำแหน่งเกียร์ที่เหมาะสมโดย
พิจารณาจากแนวโซ่เป็นเหตุผลหลักนั้น จะช่วย
ยืดอายุการใช้งานในระยะยาวของระบบเกียร์ไม่
ว่าจะเป็น โซ่ หรือชุดจานหน้าหรือเฟืองหลัง
ถ้าพิจารณาจากรูปจะเห็นได้ว่าที่ตำแหน่ง
เกียร์ 1-3 , 2-5 และ 3-7 แนวโซ่แทบจะเป็นเส้น
ตรงเลยทีเดียว
กลุ่ม1และกลุ่ม2 จะเป็นกลุ่มที่ใช้ได้ดีมากเนื่องจากแนวโซ่ไม่ได้เบี่ยงเบนไปมาก และ
ยังสามารถไล่อัตราทดต่อเนื่องกันได้อย่างเพียงพอสำหรับการใช้งาน เช่นเมื่อเราใช้เกียร์
2-7 ทำความเร็วได้พอสมควรแล้ว และต้องการจะทำความเร็วเพิ่มขึ้นอีก เราอาจจะเลือก
เปลี่ยนเกียร์เป็น 3-6 ซึ่งจะให้อัตราทดที่เพิ่มขึ้นและต่อเนื่องคล้ายกับอัตราทดในเกียร์
2-8 แต่แนวโซ่ไม่เบี่ยงเบนไปมาก หรือ คุณกำลังจะปั่นขึ้นเนินด้วยตำแหน่งเกียร์ 2-3
และเห็นว่าเนินนี้ยังอีกยาวทั้งมีแนวโน้มว่าคุณจะต้องใช้เกียร์ที่ต่ำกว่านี้อีกในการจะเอา
ชนะ แทนที่คุณจะเปลี่ยนเป็นเกียร์ที่ต่ำกว่านี้ด้วยการใช้เกียร์ 2-2 ผมแนะนำให้คุณ
เปลี่ยนไปเล่นเกียร์ 1-5 แทนจะดีกว่า นอกจากเรื่องอัตราทดและแนวโซ่แล้วยังจะมีสิ่งที่
หลายคนนึกไม่ถึง ซึ่งจะอธิบายในเรื่องของการใช้เกียร์เพื่อขึ้นเขาต่อไป
กลุ่ม3 ก็ยังสามารถใช้ได้อยู่ แต่ก็ไม่เลวนักถ้าจะเปลี่ยนไปใช้เกียร์ในกลุ่ม2
กลุ่ม4 แนวโซ่จะเบี่ยงเบนไปพอสมควร ซึ่งจะบั่นทอนอายุการใช้งานในระยะยาว
กลุ่ม5 ไม่จำเป็นหรือไม่เผลอก็อย่าไปใช้เลย สึกหรอโดยใช่เหตุ
กลุ่ม6 คือ เกียร์ 3-1 และ1-9 เป็นเกียร์ต้องห้าม อย่าได้เผลอไปใช้ทีเดียวนะครับ
ทำไมเกียร์ 3-1 และ 1-9 เป็น"เกียร์ต้องห้าม"
ตำแหน่งเกียร์ 3-1 หรือหน้าใหญ่สุด
หลังใหญ่สุด นอกจากแนวโซ่จะเบี่ยงเบนไป
อย่างมากแล้ว ตัวตีนผีเองจะถูกโซ่ดึงจนกาง
ออกเกือบจะเป็นเส้นตรง ซึ่งถ้าความยาวของ
โซ่สั้นเกินไปกว่าที่ควร ขาตีนผีอาจจะถูกบิด
จนโก่งงอ เคยพบว่าในบางรายฟันของเฟือง1
คดงอจากแรงดึงของโซ่ได้
เกียร์ 1-9 ถึงแม้จะไม่ถูกนำใช้งานเนื่องจากแนวโซ่ที่เบี่ยงเบนไปอย่างมากนั้น แต่ก็ใช่ว่า
จะไม่มีประโยชน์เสียทีเดียวเพราะว่าจะถูกใช้เป็นเกียร์สำหรับจอดเก็บ เพราะว่าในตำแหน่งจาน
หน้าเล็กสุด สปริงของตัวสับจานหน้าจะหย่อนที่สุด เช่นกันกับตำแหน่งเฟืองหลังที่เล็กสุด สปริง
ในตัวตีนผีจะหย่อนที่สุดเช่นกัน การเก็บเกียร์ในลักษณะนี้จะช่วยยืดอายุการใช้งานของสปริง
ในตัวสับจานหน้าและตีนผี
วันที่ 29 มิถุนายน 2555
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น