วันพฤหัสบดีที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เกียร์จักรยาน

ส่วนประกอบเกียร์
                ปัญหานี้คงเป็นปัญหายอดฮิตสำหรับมือใหม่ทุกๆคนเนื่องมาจากระบบเกียร์ที่ค่อนข้างจะด้วยชุดจานหน้า(chain ring)สับจานหน้า(front derailleur) ชุดเฟืองหลัง(cog) ตีนผี(rear derailleur) โซ่(chain)
และยังรวมไปถึงชุดเปลี่ยนเกียร์(shifter)เกียร์จักรยานนั้นถูกออกแบบมาด้วยเหตุผลคล้ายกับเกียร์รถยนต์ คือเพื่อให้ผู้ถีบสามารถใช้รอบขาและแรงถีบได้อย่างเหมาะสมกับสภาพเส้นทาง ความเร็ว และสภาพของตัวผู้ถีบเอง โดยจะเลือกอัตราทดจากการเปลี่ยนตำแหน่งโซ่ในชุดจานหน้าซึ่งจะมีตั้งแต่ 2 - 3 จาน ร่วมกับการเปลี่ยนตำแหน่งโซ่ในชุดเฟืองหลังซึ่งมีตั้งแต่ 7 - 9 เฟือง ( CampagnoloและRitchey ได้ทำชุดเฟืองหลัง10 เฟืองออกมาแล้ว แต่อาจจะยังไม่เป็นที่แพร่หลายเนื่องจากใช้เพื่อการแข่งขัน )ในที่นี้ผมจะขอกล่าวเฉพาะชุดจานหน้า 3 จานและเฟืองหลัง 9 เฟืองของเสือภูเขาเท่านั้นทางShimanoได้ผลิตชุดขับเคลื่อนระบบนี้ตั้งแต่ชุดระดับกลางๆคือ Deore จนถึงชุดระดับสูงอย่าง XTR โดยอาจจะเรียกให้เข้าใจกันง่ายๆว่า ชุดขับเคลื่อน 27 speeds ซึ่งความหมายมาจาก 3 x 9 = 27 นั่นเอง ซึ่งการเรียกตำแหน่งเกียร์นั้นจะเรียกเป็นตัวเลขคล้ายกับเกียร์รถยนต์โดยจานหน้าใบเล็กสุด จะเรียกว่าจาน1 จานกลางจะเรียกว่าจาน2 จานใหญ่สุดจะเรียกว่าจาน3คล้ายๆกับเกียร์รถยนต์ ตัวเลขที่มากขึ้นก็จะหมายถึงความเร็วที่เพิ่มขึ้นมา (และออกแรงเพิ่มขึ้น)ในขณะที่ชุดเฟืองหลังนั้นจะเรียกเฟืองใหญ่สุดว่าเฟือง1 แล้วเรียกไล่กันไปจนถึงเฟืองเล็กที่สุดว่าเฟือง9 หลายคนอาจจะเริ่มสับสน คือถ้าเฟืองหลังยิ่งเล็กลงความเร็วก็จะเพิ่มขึ้น ซึ่งจะสลับกันกับชุดจานหน้า ตัวอย่างในการเรียกให้เข้าใจตรงกัน เช่น ตำแหน่งเกียร์ 3-7จะหมายถึงจานหน้าอยู่ในตำแหน่งจาน3 และเฟืองหลังอยู่ในตำแหน่งเฟือง7 (คือเฟืองตัวที่ 3 นับขึ้นมาจากเฟืองที่
เล็กที่สุด)ผมจะใช้ตัวอย่างจากชุดขับเคลื่อนยอดฮิตที่มีชุดใบจานหน้า 44-32-22 ( ใบใหญ่44ฟัน ใบกลาง32ฟัน และใบเล็ก22ฟัน )กับชุดเฟืองหลังมีจำนวนฟันเรียงกันดังนี้ 11-12-14-16-18 -21-24-28-32 อัตราทดจะคำนวณโดยการนำจำนวนฟันของจานหน้าหารด้วยจำนวนฟันของเฟืองหลัง เช่น เกียร์ 3-9 จะมีอัตราทดเท่ากับ 44หารด้วย11 เท่ากับ 4.0 ซึ่งหมายถึงว่าถ้าเราปั่นบันไดครบ1รอบ ล้อหลังจะหมุนไปได้ 4 รอบ ดูตารางกันก็แล้วกันนะครับ


แล้วจะเลือกใช้เกียร์อย่างไรดีหละ หลักการใช้เกียร์ที่เหมาะสมนั้นไม่มีอะไรมากไปกว่าการใช้ความหนักเบาให้พอดีกับแรง และสุขภาพของคุณเอง การใช้เกียร์ที่หนักอัตราทดสูงๆ เช่น 3-9 อาจจะเหมาะสมสำหรับความ เร็วสูงสุดช่วงสั้นๆในทางเรียบหรือความเร็วในการลงเขา แต่ไม่เหมาะสำหรับการเดินทางไกลๆ เพราะจะหนักเกินไป และผลสุดท้ายจะลงเอยกับเข่าของคุณเอง สู้ใช้เกียร์ที่เบากว่าแต่ใช้รอบขา สูงกว่าไม่ได้ และเกียร์ที่เบาเกินไปก็ไม่มีประโยชน์ต่อการออกกำลังกาย น้ำหนักเกียร์ที่เหมาะสม จึงเป็นเรื่องที่คุณจะต้องเลือกใช้ตามความจำเป็น เช่นเดียวกันกับรถยนต์ที่ไม่มีใครใส่เกียร์5 ขึ้น ดอยอินทนนท์ ไม่ว่าเครื่องยนต์จะทรงพลังแค่ไหนก้อตาม และถึงแม้ว่าจะขึ้นได้ผลเสียก้อคงตก กับเครื่องยนต์และระบบขับเคลื่อนเอง อันนี้จึงเป็นเรื่องของทางสายกลางที่คุณจะต้องหาเองเพราะ ว่าแต่ละบุคคลมีความแตกต่างกันไป แล้วจะเลือกใช้เกียร์ไหนดีเอ่ย มีตั้ง 27 เกียร์แหนะ เรามาลองย้อนขึ้นไปดูที่ตารางอัตรา ทดอีกทีนะครับ คุณจะพบว่ามันไม่ได้มีอัตราทดหลากหลายกันถึง 27 speedsอย่างที่คิด บาง อัตราทดก็จะเท่ากันหรือใกล้เคียงกัน รวมไปถึงข้อจำกัดในเรื่องของแนวโซ่ จนเราไม่อาจจะใช้ มันจริงๆจังๆได้ครบทั้งหมด และจากการใช้งานจริงๆเราจะใช้มันอย่างมากก็เพียง 15-16 อัตรา ทดเท่านั้น


 ขอบคุณรูปภาพประกอบจาก http://www.probike.co.th 
วันที่ 28 มิถุนายน 2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น